2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การกำจัดแมงกานีสในน้ำใต้ดินโดยเซลล์ดักติดด้วยแบเรียมแอลจิเนตเติมผงถ่านกัมมันต์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 25 กุมภาพันธ์ 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร UBU Engineering Journal 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN 1906-392X 
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2563
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การปนเปื้อนของแมงกานีสในน้ำใต้ดินก่อให้เกิดปัญหาต่อการอุปโภคและบริโภคน้ำ งานวิจัยนี้ศึกษาการกำจัดแมงกานีสในน้ำใต้ดินด้วยเซลล์จุลชีพดักติด การศึกษามุ่งเน้นการหาอิทธิพลของปริมาณถ่านกัมมันต์และความหนาแน่นของเซลล์จุลชีพในวัสดุดักติดต่อการกำจัดแมงกานีส การทดลองคัดเลือกแบคทีเรีย Streptomyces violarus strain SBP1 สำหรับการออกซิเดชันแมงกานีสทางชีวภาพ และการดักติดเซลล์ใช้แบเรียมแอลจิเนตเป็นวัสดุดักติดโดยมีการปรับปรุงวัสดุด้วยการเติมผงถ่านกัมมันต์ การศึกษาทดลองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน อันได้แก่ 1) การกำจัดแมงกานีสด้วยวัสดุแบเรียมแอลจิเนตเติมผงถ่านกัมมันต์ (ร้อยละ 1 5 และ 10 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) 2) การกำจัดแมงกานีสโดยเซลล์ดักติดด้วยแบเรียมแอลจิเนตเติมผงถ่านกัมมันต์ที่มีความหนาแน่นของเซลล์จุลชีพในวัสดุต่าง ๆ (100 200 และ 500 มิลลิกรัมต่อลิตร) และ 3) การศึกษาลักษณะโครงสร้างระดับจุลภาคของเซลล์ดักติดด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษาพบว่าความหนาแน่นของเซลล์จุลชีพและการเติมผงถ่านกัมมันต์มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดแมงกานีสอย่างชัดเจน วัสดุแบเรียมแอลจิเนตเติมผงถ่านกัมมันต์ร้อยละ 5 มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมงกานีสสูงที่สุด (ร้อยละ 42) เซลล์ดักติดด้วยแบเรียมแอลจิเนตเติมผงถ่านกัมมันต์ ณ ความหนาแน่นของเซลล์จุลชีพ 200 มิลลิกรัมต่อลิตร มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมงกานีสดีที่สุด (ร้อยละ 51) ผลการศึกษาโครงสร้างระดับจุลภาคพบว่าผงถ่านกัมมันต์และเซลล์จุลชีพกระจายตัวทั่ววัสดุ จากผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการประยุกต์ใช้เซลล์ดักติดเพื่อการผลิตน้ำประปาได้ในอนาคต 
     คำสำคัญ แมงกานีส น้ำใต้ดินสังเคราะห์ เซลล์ดักติด แบเรียมแอลจิเนต การเติมถ่านกัมมันต์ 
ผู้เขียน
597040008-3 นาย นครินทร์ เทอดเกียรติกุล [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0