2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การมีปัญหาของตนเองของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด Studens’ Problem Posing in Classroom using Lesson Study and Open Approach Innovations  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 มีนาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 27 มีนาคม 2563 
     ถึง 27 มีนาคม 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 709-718 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการมีปัญหาของตนเองของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 30 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสตรีชัยภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกภาคสนาม แบบสัมภาษณ์นักเรียน เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ เครื่องบันทึกภาพนิ่ง และเครื่องบันทึกเสียง ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลตามการแบ่งแนวทางการสอนคณิตศาสตร์ออกเป็น 2 ช่วงของไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (2561) และตามขั้นตอนการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดตามแนวคิดของ ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (2546) ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ทีมการศึกษาชั้นเรียนได้วิเคราะห์และคาดการณ์พฤติกรรมที่นักเรียนจะแสดงออกให้เห็นว่าเกิดความยุ่งยากหรือความอยากรู้ ในการสังเกตการสอน ช่วงที่ 1 ช่วงของการนำเสนอสถานการณ์ปัญหา ขั้นการนำเสนอสถานการณ์ปัญหาปลายเปิด พบว่านักเรียนเกิดความอยากรู้ เห็นได้จากการให้ความสนใจสถานการณ์ปัญหา การตอบคำถาม เสนอแนวคิด และนักเรียนเกิดความยุ่งยาก เห็นได้จากการแสดงสีหน้า น้ำเสียง อภิปราย และพยายามค้นหาสิ่งที่ตนเองอยากรู้ ช่วงที่ 2 ช่วงของการแก้ปัญหา ขั้นนักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการแก้ปัญหา พบว่านักเรียนมีการผ่านความยุ่งยากหรือค้นหาสิ่งที่ต้องการรู้ เห็นได้จากการพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหา แลกเปลี่ยนแนวคิด ตรวจสอบแนวคิดของเพื่อน เพื่อช่วยกันค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหา ขั้นอภิปรายและเปรียบเทียบร่วมกันทั้งชั้นเรียน พบว่าครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายประเด็นความยุ่งยาก การผ่านความยุ่งยาก เห็นได้จากการการนำเสนอแนวคิดที่ใช้ในการแก้ปัญหาหน้าชั้นเรียน ครูใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนอภิปรายและเปรียบเทียบแนวคิด และขั้นสรุปโดยเชื่อมโยงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ที่เกิดขึ้นของนักเรียน พบว่าครูและนักเรียนมีการสรุปประเด็นความยุ่งยาก การผ่านความยุ่งจาก เห็นได้จากการเชื่อมโยงแนวคิดของทุกกลุ่ม แล้วสรุปเป็นแนวคิดทางคณิตศาสตร์ ในการสะท้อนผลบทเรียนหลังการสอนร่วมกัน ทีมการศึกษาชั้นเรียนสะท้อนในพฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงให้เห็นว่าเกิดความยุ่งยาก หรืออยากรู้ และผ่านความยุ่งยากหรือค้นหาสิ่งที่ต้องการรู้ด้วยตนเอง  
ผู้เขียน
595050003-3 น.ส. นภสร บุญเสนา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0