2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ฟ้อนผ้าหางเมืองสกลนคร Fon Pha Hang of Sakon Nakhon  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 12 กรกฎาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่5 “ศิลปะสร้างโลก” Arts Create the World 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม ณ โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนแวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 กรกฎาคม 2562 
     ถึง 13 กรกฎาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 890-898 
     Editors/edition/publisher
     บทคัดย่อ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและประเพณี สังคมและวัฒนธรรมชุมชนเกษตรกรรมและธรรมชาติภายใต้แนวคิดคติทางพระพุทธศาสนาผสมผสานเข้ากับความเชื่อดั้งเดิม ผี ไท้ แถน และธรรมชาติในท้องถิ่นของคนอีสานในอดีต ก่อให้เกิดข้อปฏิบัติที่ตกผลึกเป็นกิจกรรมหมุนเวียนไปในแต่ละเดือนในรอบปี กิจกรรมหมุนเวียนไปในแต่ละเดือนในรอบปี นั้นเข้าทางพระพุทธศาสนาเป็นหลัก เรียกว่า “ฮีตสิบสอง” ตามการนับเดือนเป็นแบบจันทรคติ วัฒนธรรมประเพณีในฮีตสิบสอง ของแต่ละท้องถิ่นมักให้ความสำคัญในแต่ละเดือนที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพความเป็นอยู่ ภูมิประเทศและจำนวนทรัพยากรในท้องถิ่นนั้น ๆ นอกจากประเพณีตามที่กล่าวมานั้น ยังแยกย่อยออกเป็นพิธีกรรมของท้องถิ่น บุญผเวสสันดรหรือบุญเทศน์มหาชาติ จัดเป็นบุญสำคัญของชาวอีสานที่นับถือพระพุทธศาสนา จัดขึ้นในช่วงเดือนสี่ กล่าวกันว่า เวสสันดรชาดก เป็นการบำเพ็ญทานบารมีที่ยิ่งใหญ่และเป็นพระชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า จึงมีการยกเอาชาดกเรื่องนี้มาแสดง เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องของการบำเพ็ญทานและอนุเคราะห์ต่อผู้อื่น ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยของชาวอีสานที่อยู่ในลักษณะของการถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วงเหลืออนุเคราะห์แก่กันและกัน เรื่องราวชาดกนี้ในแต่ละท้องถิ่นได้ยกให้เป็นหนึ่งในประเพณีสำคัญของท้องถิ่นนั้น ๆ เกิดเป็น การสร้างสรรค์วัฒนธรรมและการเล่นในหลากหลายรูปแบบ อาทิ การเล่นผีตาโขน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ผีโขน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร การเล่นฟ้อนผ้าหาง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร การฟ้อนผ้าหาง เป็นการเล่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย้อที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่าสกลนคร โดยเฉพาะชุมชนวัดแจ้ง (วัดแจ้งแสงอรุณ) ในอดีตเป็นการเล่นที่ใช่เล่นในงานบุญเดือนสี่หรือบุญผเวสสันดร ซึ่งจะมีการแห่พระอุปคุตและแห่พระเวสสันดรและแห่กัณฑ์หลอนเพื่อการรับบริจาค โดยการเล่นฟ้อนผ้าหางคุ้มวัดแจ้งนี้เองจึงเกิดขึ้นจากการประดิษฐ์คิดค้นขึ้น เพื่อประกอบขบวนเนื่องในงานบุญผเวสสันดรช่วงเดือนสี่ เท่านั้น ต่อมีได้มีพัฒนาการขึ้นเป็นลำดับสู่งานแห่ปราสาทผึ้ง โดยในระยะแรกเป็นการนุ่งผ้าหยักรั้งไว้ทิ่งชายม้วนผ้าจากจากกระเบนเหน็บนำปลายผ้ามามัดเข้ากันกับปลายผ้าของอีกคน แล้วแสดงท่าทางต่าง ๆ ตามจังหวะดนตรี ประกอบด้วย กลองตุ้ม ผางฮาด ฉาบ ฆ้องโหม่งและแคน โดยปัจจุบันนี้การแสดงนี้กำลังจะเลือนลางจางหายไปตามสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลง ยังคงเหลือผู้เคยร่วมเป็นนักแสดงรุ่นสุดท้ายเพียงไม่กี่คนที่พอบอกเล่าความเป็นมาและจังหวะลีลาได้ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากการศึกษาเรื่องสังคมศิลปวัฒนธรรม มีความสำคัญและจำเป็นมาก เพราะนอกจากเป็นการเสริมสร้างให้บุคคลมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่แล้ว ยังช่วยให้บุคคลอื่นมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่กำลังจะเลือนหายไปจากท้องถิ่นอย่างถูกต้อง และนำไปสู่การพัฒนาและสรรค์สร้างให้เกิดการธำรงรักษาไว้ซึ่งสารัตถะทางความคิดของบรรพบุรุษเมืองสกลนคร ที่มีต่อความเชื่อทางพระพุทธศาสนาและก่อเกิดเป็นการเล่นในชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ 
ผู้เขียน
605220013-5 นาย กฤษดากร บรรลือ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0