2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของแรงจูงใจในการสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาวิชาการ การวัดผล ประเมินผล และวิจัยสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 28 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ ใหาวิทยาลัยนเรศวร 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมวังจันทร์ ริเวอร์วิว อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 
     จังหวัด/รัฐ พิษณูโลก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 กุมภาพันธ์ 2563 
     ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2563 
     Issue (เล่มที่) 28 
     หน้าที่พิมพ์ 302-319 
     Editors/edition/publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของแรงจูงใจในการสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test หรือ O-NET) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย นครราชสีมา และกาฬสินธุ์ จำนวน 600 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยเครื่องมือวิจัยเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิธีดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสาเหตุ เน้นการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของแรงจูงใจในการสอบภายใต้ตัวแปรที่ศึกษา ซึ่งแบบสอบถามมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 เครื่องมือทั้งฉบับมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.974 และค่าอำนาจจำแนกรายข้อมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างข้อคำถามแต่ละข้อกับคะแนนรวมทั้งหมดอยู่ระหว่าง 0.277 ถึง 0.793 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ด้วยโปรแกรม Spss และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล ด้วยโปรแกรม Mplus สรุปผลการวิจัย ดังนี้ โมเดลเชิงสาเหตุของแรงจูงใจในการสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test หรือ O-NET) มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 128.552, df = 53, /df = 2.426, RMSEA = 0.049, SRMR = 0.026, CFI = 0.986, TLI = 0.975) ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ความคาดหวังในการสอบ คุณค่าของการสอบ ความวิตกกังวลในการสอบ เจตคติต่อการสอบ และแรงจูงใจจากครู แรงจูงใจในการสอบได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรความคาดหวังในการสอบและคุณค่าของการสอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  
ผู้เขียน
615050102-3 น.ส. วรรณภา สิทธิโห [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0