ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
องค์ประกอบของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การนวัตกรรม ของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
7 กุมภาพันธ์ 2563 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมสัมมนาทางวิชาการ นำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เเละงานบริหารสัมพันธ์ประจำปี 2563 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาเเห่งประเทศไทย (สพบท.) |
สถานที่จัดประชุม |
โรงเเรมโลตัสปางสวนเเก้ว |
จังหวัด/รัฐ |
เชียงใหม่ |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
7 กุมภาพันธ์ 2563 |
ถึง |
7 กุมภาพันธ์ 2563 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
- |
Issue (เล่มที่) |
- |
หน้าที่พิมพ์ |
212-224 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเรียนรู้จำนวน 12 เรื่อง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ จากแนวคิด เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ 2) ยืนยันองค์ประกอบของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น ตามกรอบแนวคิดที่สังเคราะห์ได้จากเอกสาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น มี 6 องค์ประกอบได้แก่ 1) ความคิดสร้างสรรค์ มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องแคล่ว และความคิดละเอียดลออในการคิด 2) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มี 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ 3) การบูรณาการ มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การระดมความคิด การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ และการประยุกต์และสร้างองค์ความรู้ใหม่ 4) การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารจัดการและการเรียนรู้ มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยีการจัดการเรียนการสอน และการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ 5) การเรียนรู้เป็นทีม มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การติดต่อสื่อสารของทีมงาน เป้าหมายของทีม การสร้างการเรียนรู้ในทีม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 6) การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการวิจัย มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การวางแผนการเรียนรู้ การสร้างแรงจูงใจภายใน การสะท้อนผลการเรียนรู้ และการวิจัยและพัฒนา
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|