2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลการจัดการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องการปั้นดินน้ำมัน โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 30 พฤษภาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 เรื่อง"นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาชุมชน" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     สถานที่จัดประชุม ผ่านระบบ Zoom แบบออนไลน์ 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 30 พฤษภาคม 2563 
     ถึง 30 พฤษภาคม 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 211-221 
     Editors/edition/publisher มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องการปั้นดินน้ำมันโดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ2)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องการปั้นดินน้ำมัน โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น โดยทำการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายหนึ่งกลุ่ม ที่มีการทดสอบหลังการทดลอง ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองอ้อวิทยาคม จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน 16 ชั่วโมง สื่อวีดีทัศน์ช่วยสอน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินสื่อวีดีทัศน์แบบประเมินชิ้นงานแบบทดสอบหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจาก ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องการปั้นดินน้ำมันโดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 83.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องการปั้นดินน้ำมัน โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.78,S.D. = 0.01) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านสื่อการสอน (วีดีทัศน์ช่วยสอน) อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.80, S.D. = 0.09)ด้านกิจกรรมการสอนห้องเรียนกลับด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.79, S.D. =0.08) และด้านประโยชน์ที่ได้รับอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.77, S.D. =0.06) ตามลำดับ คำสำคัญ:ทัศนศิลป์, การปั้นดินน้ำมัน, ห้องเรียนกลับทาง,  
ผู้เขียน
615050089-9 น.ส. ฑัณทิกา อิฐไธสง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0