2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การกำจัดฮาโลอะซิโตไนไตรล์ด้วยกระบวนการยูวีแอลอีดีคลอรีนออกซิเดชัน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 พฤษภาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN 1906-392X 
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ฮาโลอะซิโตไนไตรล์ (HANs) จัดเป็นสารพลอยได้จากการฆ่าเชื้อโรคกลุ่มไนโตรเจน ที่มีความเป็นพิษมากกว่าสารพลอยได้จากการฆ่าเชื้อโรคที่ถูกควบคุม เช่น ไตรฮาโลมีเทน และกรดฮาโลอะซิติก งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการกำจัดสาร HANs ได้แก่ โมโนคลอโรอะซิโตไนไตรล์ (Monochloroacetonitrile, MCAN) ไดคลอโรอะซิโตไนไตรล์ (Dichloroacetonitrile, DCAN) และ ไดโบรโมอะซิโตไนไตรล์ (Dibromoacetonitrile, DBAN) ด้วยกระบวนการยูวีแอลอีดีคลอรีน (UV-LED/Cl2) ที่ pH 7 และ 8 โดยเปรียบเทียบกับยูวีแอลอีดี (UV-LED) และคลอรีน (Cl2) จากการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างการลดลงของความเข้มข้น HANs กับเวลาเป็นปฏิกิริยาอันดับหนึ่ง การทดลองที่ pH 7 การกำจัด MCAN DCAN ภายใต้กระบวนการ UV-LED/Cl2 มีค่าคงที่อัตราการเกิดปฏิกิริยา (MCAN = 5.6 × 10-3 min-1, DCAN = 11.7 × 10-3 min-1) และประสิทธิภาพการกำจัด (ร้อยละ 27-52) ซึ่งสูงกว่า UV-LED (MCAN = 4.4 × 10-3 min-1, DCAN = 5.1 × 10-3 min-1) และ Cl2 (MCAN = 2.4 × 10-3 min-1, DCAN = 5.3 × 10-3 min-1) แต่การกำจัด DBAN กลับพบว่ากระบวนการ UV-LED มีค่าคงที่อัตราการเกิดปฏิกิริยา (6.4 × 10-3 min-1) และประสิทธิภาพการกำจัดสูงกว่า UV-LED/Cl2 (5.6 × 10-3 min-1) และ Cl2 (4.5 × 10-3 min-1) เมื่อทำการวิเคราะห์ทางสถิติโดยวิธี One-way ANOVA ของกระบวนการ UV-LED/Cl2 UV-LED และ Cl2 แล้วพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ขณะที่ pH 8 ในการทดลองการกำจัด MCAN DCAN และ DBAN ของทั้ง 3 กระบวนการ พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p > 0.05) จากการวิจัยในครั้งนี้พบว่ากระบวนการ UV-LED/Cl2 สามารถเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในกำจัด HANs ในน้ำดื่มได้  
     คำสำคัญ กระบวนการออกซิเดชันขั้นสูง ยูวีแอลอีดีคลอรีน สารพลอยได้จากการฆ่าเชื้อโรคกลุ่มไนโตรเจน ฮาโลอะซิโตไนไตรล์ 
ผู้เขียน
605040047-0 นาย สมพงษ์ สุนทะโร [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0