2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การสร้างรอยผุบนเนื้อฟันมนุษย์จากแบบจำลองด้วยเชื้อก่อโรคในห้องปฏิบัติการ 
Date of Distribution 29 May 2020 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 5 การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Research To Make A CHANGE) 
     Organiser ศูนย์พัฒนานวัตกรรม ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชธานี 
     Conference Place มหาวิทยาลัยราชธานี 
     Province/State อุบลราชธานี 
     Conference Date 29 May 2020 
     To 29 May 2020 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 20-31 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการสร้างรอยผุสำหรับใช้ประโยชน์ในงานวิจัยทางทันตก รรม ด้วยเชื้อก่อโรค 2 สายพันธุ์ คือ สเตร็ปโตค็อคคัส มิวแทนส์และแลคโตบาซิลลัส อะซิโดฟิลลัส ให้เจริญเติบโต ร่วมกันบนชิ้นเนื้อฟันจำนวน 4 ชิ้น เป็นระยะเวลา 1 3 และ 5 วัน โดยมีชิ้นเนื้อฟันปกติเป็นกลุ่มควบคุม เลี้ยงใน อาหารชนิดเหลว De man Rogosa and Sharpe (MRS) ร่วมกับซูโครสร้อยละ 5 บ่มด้วยอุณหภูมิ 37 องศา เซลเซียส คาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 5 จากนั้นสังเกตลักษณะไบโอฟิล์ม วัดความลึกของ รอยผุและวิเคราะห์ ปริมาณแร่ธาตุโดยการทดลองจะถูกทำซ้ำ 3 ครั้ง พบความลึกของรอยผุ 51 143 และ 186 ไมโครเมตร ในวันที่ 1 3 และ 5 ตามลำดับ เริ่มพบไบโอฟิล์มได้ตั้งแต่วันแรกของการแช่ในสารละลายแบคทีเรีย โดยจะมีปริมาณมากขึ้น และหนาขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป อัตราส่วนระหว่างแคลเซียมต่อฟอสฟอรัส คือ 1.69 1.30 และ 0.84 ในวันที่ 1 3 และ 5 ตามลำดับ ซึ่งทุกกลุ่มมีค่าน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ดังนั้นผลการศึกษาจากแบบจำลองด้วยเชื้อก่อโรคนี้จึงสามารถ สร้างรอยผุบนชิ้นเนื้อฟันมนุษย์ได้ และนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางทันตกรรมต่อไป คำสำคัญ: รอยผุจำลอง, แบบจำลองด้วยเชื้อก่อโรค, ไบโอฟิล์ม Abstract This study aimed to develop a microbial model to create caries-like lesions to be used in dental research. Two common cariogenic bacteria (S. mutans and L. acidophilus) were cocultured and grown on four human dentin slices for 1, 3, 5 days and sound dentin slices were used for control. The bacteria were cultured in a sterile De Man Rogosa and Sharpe (MRS) broth with 5 % sucrose, incubated at 37˚ c in an atmosphere of 5 % CO₂. After the experimental periods, lesion depth, biofilm appearance and mineral content were determined. This experiment was repeated three times. Caries-like lesions depth were found 51, 143 and 186 µm on day 1, 3 and 5, respectively. Biofilm was found on the first day, it was increased by both number and thickness over time. Ca/P ratio was 1.69, 1.30 and 0.84 in day 1, 3 and 5, respectively. Ca/P ratio of all periods were lower when compared with the control group. This microbial model has developed caries-like lesions on dentin and can be used for future research. Keywords: caries-like lesion, microbial model, biofilm 
Author
605130009-7 Miss SUTHINEE WIRIYASUEBPONG [Main Author]
Dentistry Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding true 
     Award Title รางวัลระดับดีในการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย สาขา วิทยาศาสตร์สุขภาพ 
     Type of award รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     Organiser มหาวิทยาลัยราชธานี 
     Date of awarding 29 พฤษภาคม 2563 
Attach file
Citation 15