2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ความแข็งแกร่งทางวิชาการและผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะที่มีผลต่อการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องโครงสร้างและการแบ่งเซลล์ 
Date of Distribution 30 May 2020 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 เรื่อง “นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาชุมชน” 
     Organiser มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     Conference Place มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 30 May 2020 
     To 30 May 2020 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 529-538 
     Editors/edition/publisher มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     Abstract ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์เรื่องโครงสร้างและการแบ่งเซลล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์และความแข็งแกร่งทางวิชาการ โดยศึกษาจากกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 33 คน ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ แบบสอบถามความแข็งแกร่งทางวิชาการซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบด้านการควบคุมความพยายาม (control-effort) การควบคุมผลที่เกิดขึ้น (control-affect) ความมุ่งมั่นในการเรียน (commitment) และความรู้สึกท้าทายในการเรียน (challenge) และแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ซึ่งทำการวิเคราะห์จากการพิจารณาจากค่าเฉลี่ยระดับความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน และใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างแบบกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (partial least squares structural equation modeling [PLS-SEM]) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งทางวิชาการและความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น มีความพัฒนาอย่างเป็นลำดับ โดยจากการวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ครั้งที่สามนักเรียนส่วนใหญ่สามารถให้เหตุผลที่มีการลงข้อสรุปที่ถูกต้อง มีหลักฐานประกอบการลงข้อสรุป แต่ไม่เพียงพอต่อการชี้แจงความสัมพันธ์ระหว่างข้อสรุปและหลักฐาน และนักเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อสรุปและหลักฐานในการให้เหตุผลที่เกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้ นอกจากนี้ผลจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งทางวิชาการและความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ความแข็งแกร่งทางวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กับการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ โดยความสามารถในความการควบคุมความพยายาม และความสามารถในการควบคุมผลที่เกิดขึ้นจากการเรียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ขณะที่ความมุ่งมั่นในการเรียน และความรู้สึกท้าทายในการเรียนมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางกับการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์มีค่าเป็นลบ ทั้งนี้ความสามารถในการควบคุมความพยายาม ความสามารถในการควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้น รวมถึงความท้าทายในการเรียนมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกต่อความมุ่งมั่นในการเรียนอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่าความแข็งแกร่งทางวิชาการมีความสัมพันธ์ต่อการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์อาจทางตรงหรือทางอ้อม 
Author
615050193-4 Miss PITCHAYAPA CHOMPOONUCH [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum