2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ศึกษาวิเคราะห์สภาพสังคมที่ปรากฏในจักกวัตติสูตร 
Date of Acceptance 4 June 2020 
Journal
     Title of Journal วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 
     Standard TCI 
     Institute of Journal วัดวังตะวันตก อำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช 
     ISBN/ISSN  
     Volume
     Issue
     Month กรกฎาคม
     Year of Publication 2020 
     Page  
     Abstract บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพสังคมที่ปรากฏในจักกวัตติสูตรในคัมภีร์พระไตรปิกฎ โดยใช้กรอบแนวคิดและทฤษฎีของโทมัส ฮอบส์ ในเรื่องการเกิดขึ้นของสภาพสังคม ผลการศึกษาพบว่า สภาพสังคมในจักกวัตติสูตรมีการปกครองหมู่คณะอันเป็นเหตุสนับสนุนให้สังคมเจริญขึ้น ประกอบด้วย 1) การทำตนให้เป็นที่พึ่ง และ 2) การปกครองโดยใช้หลักจักรวรรดิธรรมเพื่อแก้ปัญหาของสังคมใน 3 ระดับ คือ (1) ระดับปัจเจกบุคคล (2) ระดับสังคมครอบครัว และ (3) ระดับสังคมโดยรวม เพราะคุณธรรมจะทำให้สังคมเข้มแข็งและพฤติกรรมของมนุษย์แก้ไขได้ยาก ดังนั้น มนุษย์จึงต้องถูกควบคุมด้วยการถูกลงโทษตามกฎระเบียบทางสังคม โดยมีผู้ควบคุมและบทลงโทษผู้กระทำผิด เพื่อช่วยบรรเทาให้มนุษย์ลดละเว้นการกระทำชั่ว จึงสอดคล้องกับแนวคิดของโทมัส ฮอบส์ ที่กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความเห็นแก่ตัว โดยเชื่อว่ามนุษย์มีสังคม 3 ระดับเช่นเดียวกับสังคมในจักกวัตติสูตร ซึ่งระดับปัจเจกบุคคลเป็น สิ่งสำคัญของมนุษย์ เพราะหมายถึงสิทธิ์และเสรีภาพของตนเอง จึงส่งผลให้มนุษย์เน้นความรอบคอบ นั่นหมายถึงการไม่ประมาทในการดำรงชีวิต และไม่ใช่เป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด แต่มาจากประสบการณ์ของมนุษย์ เพราะมนุษย์ทุกคนย่อมมีความต้องการตลอดเวลาเป็นผลมาจากอำนาจหรือแรงผลักดันภายในจิตใจของตนเอง จะเห็นได้ว่าสภาพสังคมของโทมัส ฮอบส์ และ จักกวัตติสูตรนั้น มีความสัมพันธ์กันทางด้านระบบการปกครองและแตกต่างกันทางด้านพฤติกรรมของมนุษย์เพียงเพื่อแสวงหาสังคมที่พึงปรารถนา ฉะนั้น สภาพสังคมจึงควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ต้องมีกฎระเบียบควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ด้วย 
     Keyword จักกวัตติสูตร, สภาพสังคม, เสรีภาพ 
Author
597080016-0 Mr. NARONGWAS BOONMA [Main Author]
Humanities and Social Sciences Doctoral Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0