ชื่อบทความ |
วงกลองยาวคณะลูกหลวงพ่อบุษราคัม |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
2 กรกฎาคม 2563 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
ศิลปกรรมศาตร์ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
13 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม-มิถุนายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้เป็นการศึกษาวงกลองยาวคณะลูกหลวงพ่อบุษราคัม ตำบลหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โดยมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา, จังหวะ, ลักษณะลีลาประกอบการบรรเลง และบทบาทหน้าที่ทางสังคมของวงกลองยาวดังกล่าว โดยทำการศึกษาทั้งจากเอกสารวิชาการ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีศึกษาภาคสนาม เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยลักษณะเฉพาะทางดนตรีพบว่า ลีลาและกระสวนจังหวะวงกลองยาว คณะลูกหลวงพ่อบุษราคัม มีการบรรเลง และลีลากลองยาว กระสวนจังหวะและลีลาของแต่ละท่านั้น หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตฺโต ได้ประพันธ์และคิดค้นขึ้นมาประยุกต์ใส่จังหวะและลีลาการแสดง ซึ่งได้แนวคิดมาจากทำนองเทศน์แหล่(เทศน์เสียง) และชื่อ แต่ละท่ามาจากนิทานชาดก ผนวกกับแนวคิดของตนเองที่ได้จากประสบการณ์ที่ปฏิบัติกิจของสงฆ์ในแต่ละวัน
วงกลองยาวคณะลูกหลวงพ่อบุษราคัม เป็นวงกลองยาวอีกวงหนึ่งที่ได้รับความนิยมให้บรรเลงในงานเทศกาลต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากที่มีการบรรเลงกลองยาวที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่โดดเด่น มีจังหวะกลองที่มีความนักแน่นเรียบง่าย และลีลามีความสุภาพเรียบร้อยในขณะตีกลอง และเป็นต้นฉบับของการบรรเลงกลองยาวในเขตจังหวัดอุดรธานี
|
คำสำคัญ |
หลวงพ่อบุษราคัม,วงกลองยาว |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|