2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ แนวทางของครูในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 30 มิถุนายน 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า 148-174 
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางของครูในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และเพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย จำนวน 1 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนปากคาดพิทยาคม อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน 3) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน 4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน และ 5) แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์โพรโทคอล (Protocol) และการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ครูมีแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ 1) สร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดย ศึกษาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ หลักสูตร เนื้อหา เนื้อเรื่องที่สอน จุดเด่นและจุดด้อยของเนื้อหาวิชา สภาพปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและระดับความต้องการในขณะนั้น กำหนดแนวทางการพัฒนาและประเมินคุณภาพนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 2) วิเคราะห์เวลาที่ใช้ และวิเคราะห์ผู้เรียน 3) กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ กำหนดวิธีการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่แสดงถึงการเรียนรู้และระดับของพฤติกรรมที่ต้องการ จัดลำดับเนื้อหา กำหนดเวลาการนำเสนอและกิจกรรม 4) กำหนดคุณลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยการนำเอาวัตถุประสงค์มาเป็นกรอบกำหนดคุณลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านประเภทการใช้งาน พิจารณาคุณลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อคัดเลือกนวัตกรรมให้สอดคล้องกับประสิทธิภาพของการรับรู้ของผู้เรียน 5) สำรวจทรัพยากรการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ได้แก่ บุคลากร เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ และสถานที่ 6) ออกแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยคำนึงถึงหลักการและทฤษฏีต่างๆ ได้แก่ หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา หลักการออกแบบ หลักการสื่อสาร และหลักการเรียนรู้ 7) การวางแผนและดำเนินการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับหลักการดำเนินงาน หรือกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน และการดำเนินงานตามแผนที่ได้วางไว้ และ 8) ตรวจสอบคุณภาพวิธีการของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสรุปและประเมินผลการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ และผลจากการวัดเจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก ซึ่งด้านที่สูงที่สุดคือ ด้านการเรียนวิชาภาษาไทย รองลงมาคือ ด้านครูผู้สอนวิชาภาษาไทย และสุดท้ายคือด้านวิชาภาษาไทย  
     คำสำคัญ แนวทาง; นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย; เจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 
ผู้เขียน
615050175-6 น.ส. วาสนา แสงสุข [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0