2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความผูกพันต่อองค์กรกับการเป็นผู้สนับสนุนองค์กรของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดมหาสารคาม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 มิถุนายน 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่10 เรื่อง"การยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศืลปากร 
     สถานที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศืลปากร 
     จังหวัด/รัฐ นครปฐม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 มิถุนายน 2563 
     ถึง 26 มิถุนายน 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 10 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 337-347 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี ้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาระดับการเป็น ผู้สนับสนุนองค์กร3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพนักงานที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน กับปัจจัยความผูกพันต่อองค์กรและการเป็นผู้สนับสนุนองค์กร 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความผูกพันต่อองค์กรกับการเป็นผู้สนับสนุนองค์กรของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้แบบสอบถามวัดปัจจัยความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน 8 ด้าน จำนวน 26 ข้อ ใช้มาตรวัด 5 ระดับและวัดการเป็นผู้สนับสนุนองค์กร 1 ข้อใช้มาตรวัด 11 ระดับ ศึกษากับพนักงานจำนวน 200 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) พนักงานความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง 2) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม Promoter หรือผู้สนับสนุนองค์กร คิดเป็นร้อยละ 61 3)ระยะเวลาในการปฏิบัติงานและตำแหน่งงานที่แตกต่างกันมีระดับปัจจัยความผูกพันต่อองค์กรและการเป็นผู้สนับสนุนองค์กรที่แตกต่างกัน 4) ปัจจัยความผูกพันต่อองค์กร3 ด้าน มีความสำคัญต่อการเป็นผู้สนับสนุนองค์กรของพนักงาน เพื่อสามารถนำไปเป็นแนวทางในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานและเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมพนักงานสำหรับการปฏิบัติงานที่รองรับทิศทางยุทธศาสตร์ของธนาคาร 
ผู้เขียน
615740128-2 น.ส. ฐิติรัตน์ บำรุงกุล [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0