2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ วิทยาการระบาดการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 - 2561 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 กรกฎาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข . (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN E-ISSN 2672 9636 
     ปีที่ 21 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน - มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทางวิทยาการระบาดของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 - 2561โดยใช้ข้อมูลจากรายงาน 506, 507 และโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาด ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการอธิบายตัวแปรทางวิทยาการระบาด พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 390,848 ราย เสียชีวิต 438 ราย อัตราตายเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย กลุ่มอายุ 5- 9 ปี มีอัตราตายสูงที่สุด อาชีพที่มีอัตราตายสูงที่สุด คือ นักเรียน เดือนกรกฎาคมซึ่งอยู่ในช่วงฤดูฝน พบผู้เสียชีวิตสูงที่สุด โดยส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัย ในช่วง 4 – 6 วันหลังจากเริ่มป่วย (ร้อยละ 58.9) ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มป่วยจนถึงเสียชีวิต ≤ 7 วัน (ร้อยละ 53.42) และ ≥ 7 วัน (ร้อยละ 46.58) ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตภาคกลาง และภาคใต้ โดยพบโรคไข้เลือดออกช็อก (71.69%) โรคไข้เลือดออก (23.29%) และไข้เดงกี (5.02%) ส่วนใหญ่มีเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ และพบซีโรทัยป์ DENV2 มากที่สุด ร้อยละ 37.39 รองลงมา คือ DENV4, DENV1 และ DENV3 และไม่มีภาวะแทรกซ้อน ด้วยเหตุนี้ การป้องกันการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกที่ดีที่สุด คือการป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเสี่ยงที่พบมากในเด็กนักเรียน ในช่วงก่อนการระบาดในฤดูฝน (พฤษภาคม – ตุลาคม) This research was descriptive study. The objective was to explain epidemiology of mortality due to dengue diseases in 2014 – 2018, Thailand. The mortality data were collected from R506, R507 and event base surveillance from Bureau of Epidemiology from 1 January 2014 – 31 December 2018. The data were analyzed by descriptive statistics to explain epidemiology characteristics of cases fatality. The results found 390,848 cases and 438 deaths of Dengue diseases. Mortality rate in female was higher than in male. The highest mortality rate by age group was 5 – 9 years old. The highest mortality rate by occupation was school children. The deaths were found most in July (rainy season). The most of deaths (58.9%) was diagnosed between 4 - 6 days after the onset of illness. The date from illness to death ≤ 7 days (53.42 %) and ≥ 7 days (46.58 %) were found. The most of deaths were found in the central region and southern region. Most of them were dengue shock syndrome; DSS (71.69%), dengue hemorrhagic fever; DHF (23.29%) and dengue fever; DF (5.02%). The most had platelets were lower than normal and found the most of DENV2 serotypes (37.39%), followed by DENV4, DENV1 and DENV3. The most of deaths had no complications. Thus, the best prevention of deaths from dengue diseases is the prevention and control measures of dengue diseases occurrence in the high risk population as school children especially in the rainy season (May - October). 
     คำสำคัญ วิทยาการระบาด ผู้เสียชีวิตโรคไข้เลือดออก 
ผู้เขียน
615110013-9 นาย ศรัณรัชต์ ชาญประโคน [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0