2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความเชื่อทางญาณวิทยาทางวิทยาศาสตร์ และการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ในรายวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 30 พฤษภาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     สถานที่จัดประชุม อาคารประภากรคอนเวนชั่นฮอลล์  
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 30 พฤษภาคม 2563 
     ถึง 30 พฤษภาคม 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 296-306 
     Editors/edition/publisher มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     บทคัดย่อ ความเชื่อทางญาณวิทยาทางวิทยาศาสตร์ (scientific epistemological beliefs; SEBs) ของนักเรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนวิทยาศาสตร์ เนื่องจากการสะท้อนถึงแนวทางการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ของผู้เรียน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อทางญาณวิทยาทางวิทยาศาสตร์และการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ในรายวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 76 คน ที่กำลังศึกษาในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยการใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความเชื่อทางญาณวิทยาทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านแหล่งที่มาของความรู้ (Source) ด้านความแน่นอนของความรู้ (Certainty) ด้านการเปลี่ยนแปลงของความรู้ (Development) และด้านการให้เหตุผล (Justification) การสร้างแบบจำลองของเซลล์ได้มาจากการประเมินการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์หลังจากที่นักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการวิเคราะห์เส้นทาง (path analysis) แบบสมการโครงสร้าง (PLS-SEM) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้โปรแกรม Smart PLS 3.0 ในการสร้างแผนภาพเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อทางญาณวิทยาทางวิทยาศาสตร์และแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิเคราะห์บ่งชี้ว่า ความเชื่อทางญาณวิทยาทางวิทยาศาสตร์มี/ไม่มีความสัมพันธ์กับแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตามพบว่าด้านแหล่งที่มาของความรู้ และด้านการให้เหตุผล มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ในขณะที่ด้านการเปลี่ยนแปลงของความรู้ และด้านความแน่นอนของความรู้ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ และพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งที่มาของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกต่อความแน่นอนของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ 
ผู้เขียน
615050194-2 น.ส. มยุรฉัตร ยลวิลาศ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0