ชื่อบทความ |
การออกแบบภาชนะเซรามิคสำหรับเก็บรักษาผลไม้ในครัวเรือนจากดินบ้านหัวบึง |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
13 กรกฎาคม 2563 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
12 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม-มิถุนายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อศึกษาวิธีการเก็บรักษาผลไม้ในครัวเรือน 2.เพื่อทดลองหาสูตรดินและรูปแบบภาชนะที่เหมาะสมกับการเก็บรักษาผลไม้ และ 3. เพื่อออกแบบภาชนะเซรามิคเพื่อเก็บรักษาผลไม้ในครัวเรือน ขั้นตอนในการพัฒนาภาชนะเพื่อเก็บรักษาผลไม้นี้อาศัยวิธีการออกแบบและทดลอง โดยจากการศึกษาวิธีการเก็บรักษาผลไม้ ผู้วิจัยได้นำวิธีการการนำตัวทำความเย็นคือน้ำไว้ด้านล่างตัวผลไม้ และมีผนังที่ระบายอากาศกั้นเพื่อไม่ให้ผลไม้สัมผัสกับน้ำโดยตรง มาเป็นตัวกำหนดรูปแบบภาชนะ โดยได้ออกแบบการทดลองให้สอดคล้องกับปัจจัยที่มีผลต่อความสดของผลไม้ทั้ง 4 คือการระบายอากาศ ก๊าซเอทิลีน ความชื้นและอุณหภูมิ โดยทำการทดลองสูตรดินและรูปแบบภาชนะเพื่อทำให้อุณหภูมิภายในภาชนะลดลงอยู่ที่ 21-25 องศาเซลเซียส โดยมีผลการทดลองดังนี้ ผลการทดลองสูตรดินได้สูตรดินที่ 17 มีส่วนผสมคือ ดินหัวบึง 50% ดินขาว 20% ดินดำ 30% และเพิ่มก๊อก 10% โดยมีร้อยละการหดตัวและการดูดซึมน้ำที่ 12.7 และ 10.8 ตามลำดับ ซึ่งส่วนผสมนี้มีความเหมาะสมในการขึ้นรูปชิ้นงานและดูดซึมน้ำได้ดี และผลการทดลองรูปแบบภาชนะพบว่า อุณหภูมิภายในภาชนะที่มีรูเหนือผิวน้ำมีแนวโน้มว่าจะลดน้อยลงกว่าภาชนะธรรมดาเมื่อทดลองไปได้ 4 วัน อยู่ที่ 1 องศาเซลเซียส โดยสามารถลดได้ลงถึง 25 องศาเซลเซียสที่ส่วนต่างอุณหภูมิ 6-7 องศาเซลเซียสในวันที่ 5 และ 6 โดยมีความชื้นสัมพัทธ์ภายในภาชนะเท่ากันทั้งสองรูปแบบ ซี่งจากการทดลองนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ผลการทดลองและออกแบบแบบร่างร่วมกับที่ปรึกษาจนได้ชิ้นงานต้นแบบ โดยใช้ดินสูตรที่ 17 ขึ้นรูปชิ้นงานและออกแบบผลิตภัณฑ์ตามรูปแบบภาชนะที่ได้จากการทดลองคือมีรูอยู่เหนือผิวน้ำ เพื่อช่วยให้น้ำระเหยได้เร็วขึ้น เจาะรูเพื่อช่วยหมุนเวียนอากาศบนผนังส่วนที่เก็บผลไม้ และทำการเผาที่อุณหภูมิ 1,100 องศาเซลเซียสโดยไม่เคลือบ |
คำสำคัญ |
ภาชนะเซรามิค, การเก็บรักษาผลไม้ในครัวเรือน, ดินบ้านหัวบึง |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|