2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประเมินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 14 กรกฎาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 10 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มิถุนายน 2564
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการดำเนินงานของโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาแนวทางการประเมินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในพื้นที่ จังหวัดสกลนคร ตามรูปแบบของ CIPP Model ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิจัยเชิงผสมผสาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากการสุ่มตัวอย่างหมู่บ้าน 4 แห่ง จำนวน 200 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่า ในด้านบริบทและสิ่งแวดล้อม ชุมชนได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่าง ๆ และ 1) ผลการดำเนินงานของโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในพื้นที่ จังหวัดสกลนคร พบว่า มีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการ ในด้านปัจจัยนำเข้า งบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ที่ได้รับการสนับสนุนมีความเหมาะสมและเจ้าหน้าที่และวิทยากรเพียงพอต่อการให้ความรู้แก่ชุมชน ในด้านกระบวนการ ชุมชนได้รับการพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและการเตรียมความพร้อมด้านการบริการท่องเที่ยว เจ้าหน้ามีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องในระหว่างดำเนินกิจกรรมในด้านผลผลิต 2) แนวทางในการปรับปรุงต่อการพัฒนาโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในพื้นที่ จังหวัดสกลนคร พบว่า ผู้ประกอบการนำความรู้ที่ได้จากการอบรมและศึกษาดูงานจากหมู่บ้านต้นแบบนำมาปรับใช้ในชุมชนของตนเอง สำหรับแนวทางการพัฒนาโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี หน่วยงานราชการควรมีการติดตามและดูแลเรื่องคุณภาพของบรรจุภัณฑ์หลังเสร็จสิ้นโครงการเพื่อให้มีความต่อเนื่อง ชุมชนควรมีการดูแลสภาพแวดล้อม โดยการวางแผนด้านการปฏิบัติงานระหว่างผู้นำชุมชน ชาวบ้านและหน่วยงานท้องถิ่นเจ้าหน้าที่ควรมีให้ข้อมูลและความรู้ ด้านการพัฒนาการจำหน่ายสินค้าทั้งในชุมชน และการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ พร้อมทั้งการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในชุมชนเพื่อกระตุ้นการจำหน่ายสินค้ามากยิ่งขึ้น  
     คำสำคัญ 1. CIPP Model 2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3. การท่องเที่ยวชุมชน 
ผู้เขียน
615280032-6 น.ส. อัจจิมา บุตรชารี [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum