ชื่อบทความ |
การวิเคราะห์ข้อมูลความเร็วลมในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
10 กรกฎาคม 2562 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
38 |
ฉบับที่ |
5 |
เดือน |
กันยายน-ตุลาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2562 |
หน้า |
495-502 |
บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาศักยภาพความเร็วลมเฉพาะเขตพื้นที่บริเวณสถานีวัดความเร็วลมภายในจังหวัดกาฬสินธุ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย โดยเสาวัดลมแบบโครงถักมีความสูง 120 เมตรเหนือพื้นดิน (AGL) และติดตั้งอุปกรณ์วัดความเร็วลม (Anemometer) และทิศทางลม (Wind Vane) ที่ระดับความสูง 60, 90 และ 120 เมตร ทำการบันทึกข้อมูลลมทุก ๆ 10 นาทีที่กล่องบันทึกข้อมูล (Data Logger) เป็นระยะเวลา 5 ปีติดต่อกัน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 ถึง เดือนธันวาคม 2559 ข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์ในเชิงสถิติโดยใช้การกระจายตัวแบบไวบูลล์ (Weibull Distribution Function) เป็นรายปี รายเดือนและรายวัน ผลการศึกษาจะเห็นได้ว่าความเร็วลมเฉลี่ยทั้งปี คือ 3.12, 3.62 และ 3.93 เมตรต่อวินาที กำลังลม (Power Density, W/m2) มีค่าตั้งแต่ 37, 56 และ 72 วัตต์ต่อตารางเมตร ที่ระดับความสูง 60, 90 และ 120 เมตรเหนือพื้นดินตามลำดับ ทิศทางการกระจายลมส่วนใหญ่จากทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือไปยังทิศใต้ ในช่วงเวลากลางคืนความเร็วลมจะสูงกว่าในช่วงเวลากลางวัน และมีค่า shape (k), scale parameter (c) เฉลี่ยที่ตำแหน่งนี้มีค่าอยู่ในช่วง 2.00 ถึง 2.05 และ 3.60 ถึง 4.50 เมตรต่อวินาที จากการวิเคราะห์ข้อมูลลมที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ถือได้ว่าความเร็วลมมีค่าค่อนข้างต่ำ ดังนั้นกังหันลมขนาดเล็กจึงเหมาะสำหรับแหล่งพลังงานทางเลือก เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานและมลพิษต่อไปในอนาคต |
คำสำคัญ |
พลังงานลม, ศักยภาพลม, ความเร็วลม, จังหวัดกาฬสินธุ์, ไวบูลล์ฟังก์ชั่น |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|