ชื่อบทความ |
ผลของโพรไบโอติกส์ และซินไบโอติกส์ในการป้องกันการเกิดพิษต่อตับจากพาราเซตามอลในเซลล์มะเร็งตับมนุษย์ชนิด HepG2 |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
8 สิงหาคม 2563 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารพิษวิทยาไทย |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
2563 |
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
|
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2563 |
หน้า |
14-29 |
บทคัดย่อ |
อะเซตามิโนเฟน (APAP) หรือพาราเซตามอล เป็นยาบรรเทาอาการปวดและลดไข้ ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับได้ ถ้าใช้ในปริมาณมากหรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโพรไบโอติกส์ และซินไบโอติกส์ในการป้องกันการเกิดความเป็นพิษจากพาราเซตามอลต่อเซลล์ HepG2 โดยการเลี้ยงเซลล์ HepG2 ร่วมกับพาราเซตามอล (25 mM; IC50) และสารที่ได้จากการทำให้โพรไบโอติกส์แตกตัว (Intracellular Fraction of Probiotics: IFP) จากโพรไบโอติกส์ 3 สายพันธุ์คือ Bifidobacterium longum subsp. longum TISTR 2195, Lactobacillus bulgaricus TISTR 451 หรือ Streptococcus thermophilus TISTR 458 ผลการศึกษาพบว่า IFP ของ S. thermophilus TISTR 458 สามารถลดการบาดเจ็บและการตายของเซลล์ HepG2 ที่เกิดจากพาราเซตามอลโดยลดการปล่อยเอนไซม์แลคเตทดีไฮโดรจีเนสได้ดีกว่า IFP ของโพรไบโอติกส์อีก 2 สายพันธุ์ เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองโดยวิธี ORAC พบว่า IFP ของ S. thermophilus TISTR 458 ที่มีการเสริมพรีไบโอติกส์ (โดยเติม 1% อินูลินหรือฟรุกโต-โอลิโกแซ็คคาไรด์) การศึกษาพบว่า IFP ของ S. thermophilus TISTR 458 ที่มีการเสริมอินูลินมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่า IFP ที่ไม่มีการเสริมพรีไบโอติกส์ นอกจากนี้ยังพบว่า IFP ของ S. thermophilus TISTR 458 ช่วยเพิ่มปริมาณรีดิวซ์กลูตาไธโอน ลดการทำงานของซุปเปอร์ออกไซด์ ดิสมิวเตส อาจมีประโยชน์ในการช่วยลดการเกิดความเป็นพิษต่อตับที่เกิดจากพาราเซตามอล |
คำสำคัญ |
พาราเซตามอล IFP ของโพรไบโอติกส์ IFP ของซินไบโอติกส์ รีดิวซ์กลูตาไธโอน สารต้านอนุมูลอิสระ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|