2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเปรียบเทียบทีแอลซีโครมาโทแกรม และการศึกษาทางพฤกษเคมีของเปลือกต้น Wrightia arborea (Dennst.) Mabb. และ Wrightia pubescens R.Br. 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 14 สิงหาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN E-ISSN 2672-9636 
     ปีที่ 21 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า
     บทคัดย่อ “เปลือกโมกมัน” เป็นสมุนไพรที่ใช้ปรุงยาในทางการแพทย์แผนไทย ซึ่งมีที่มาจากเปลือกต้นของต้นไม้ 2 ชนิด คือ Wrightia arborea (Dennst.) Mabb. และ Wrightia pubescens R.Br. เปลือกโมกมันที่ขายในร้านเครื่องยาสมุนไพรมีลักษณะเป็นท่อนเล็กและมีความคล้ายกัน ยากแก่การระบุว่าเป็นเครื่องยาที่ได้มาจากต้นไม้ชนิดใด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทีแอลซีโครมาโทแกรม และศึกษาข้อมูลทางพฤกษเคมีของเปลือก โมกมันทั้ง 2 ชนิด ผลการศึกษาลักษณะทีแอลซีโครมาโทแกรมที่ใช้วัฏภาคเคลื่อนที่ dichloromethane:methanol: formic acid ในอัตราส่วน 7:3:0.2 พบแถบสีแตกต่างกันที่ค่า hRf = 47 ส่วนการศึกษาทางพฤกษเคมีพบสารกลุ่ม ไตรเทอร์พีนอยด์ในโมกมันทั้ง 2 ชนิด ผลการศึกษาทั้งหมดพบความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อยืนยันการใช้โมกมันทั้ง 2 ชนิดในการเตรียมยาแผนโบราณแทนกันได้  
     คำสำคัญ โมกมัน Wrightia arborea (Dennst.) Mabb. Wrightia pubescens R.Br. 
ผู้เขียน
605150048-5 น.ส. วาทินี สุปัญญา [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0