2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นต่อผลลัพธ์ที่คัดสรร ในผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 31 สิงหาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารพยาบาลศาสตร์ และสุขภาพ  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN
     ปีที่ 43 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า
     บทคัดย่อ ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น (upper gastrointestinal bleeding; UGIB) เป็นภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรมและอายุรกรรม ที่ผู้ป่วยต้องได้รับการช่วยเหลือโดยเร่งด่วนเพราะอาจนำไปสู่ภาวะช็อกและการเสียชีวิตได้ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น (upper gastrointestinal bleeding care bundle; UGIB-CB) ต่อผลลัพธ์ที่คัดสรรในผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย จำนวน 146 คน และกลุ่มตัวอย่างพยาบาลอาสาสมัคร จำนวน 31 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย แบ่งเป็นกลุ่มเปรียบเทียบและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 73 ราย กลุ่มทดลองได้รับการดูแลผู้ป่วยตาม UGIB-CB ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามแนวทางการดูแลปกติตามมาตรฐานของโรงพยาบาล ผลลัพธ์ที่คัดสรรในการศึกษาประกอบด้วยผลลัพธ์ทางคลินิกและผลลัพธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมิน UGIB-CB แบบประเมินความมีวินัยของพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติตามกิจกรรมของ UGIB-CB และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้ UGIB-CB วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ผลของการใช้ UGIB-CB โดยใช้สถิติ Independent t–test Chi-square และ Relative risk ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มทดลองได้รับการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบน (esophagogastroduodenoscopy; EGD) ตามระยะเวลาที่กำหนดมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 1.75 เท่า (RR = 1.75, 95% CI 1.26-2.44) และมีค่าเฉลี่ยปริมาณปัสสาวะภายใน 24 ชั่วโมงแรก มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ (97.18 มิลลิลิตร และ 82.53 มิลลิลิตร ตามลำดับ, p = 0.03) กลุ่มตัวอย่างพยาบาลอาสาสมัครสามารถปฏิบัติกิจกรรมตาม UGIB-CB ในระดับสูงมาก (ร้อยละ 95.89) และมีความพึงพอใจต่อการใช้ UGIB-CB โดยรวมในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 82.93) ผลการศึกษาสะท้อนว่าการใช้ UGIB-CB ช่วยให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและได้รับการทำ EGD ตามเวลาที่กำหนดและมีแนวโน้มที่ดีในการนำไปใช้  
     คำสำคัญ เลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น รูปแบบการดูแล ผลลัพธ์ที่คัดสรร 
ผู้เขียน
605060034-7 น.ส. กาญจนา ขุ่มด้วง [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0