2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ปัญหาและอุปสรรคของการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบัน 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม The 12th Annual Conference of Northeastern Pharmacy Research 2020 : Transformation of Pharmacy Profession in The Digital Era การปฏิวัติวิชาชีพเภสัชกรรมยุคดิจิตอล 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะเภสัชศำสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     สถานที่จัดประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     จังหวัด/รัฐ อุบลราชธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 15 กุมภาพันธ์ 2563 
     ถึง 16 กุมภาพันธ์ 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2020 
     Issue (เล่มที่) 12 
     หน้าที่พิมพ์ 64 
     Editors/edition/publisher ปัทมา แคสันเทียะ 1,ทิพาพร กาญจนราช 2  
     บทคัดย่อ บทนำ: แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะมีนโยบายการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบัน แต่นโยบายดังกล่าวยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร วัตถุประสงค์:ศึกษามุมมองของบุคคลากรทางการแพทย์ต่อปัญหาการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบัน วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลของรัฐ วิชาชีพละ 5 คนรวม 20 คนที่มีบทบาทต่อการสั่งจ่ายและจัดหายาสมุนไพรในโรงพยาบาลของรัฐ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ ทำการสัมภาษณ์ตามเค้าโครงคำถามแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาตามแนวคิดบริหารจัดการ 4 M (ด้านบุคลากร เงิน วัตถุดิบ กระบวนการ) ผลการวิจัย:พบว่าปัญหาและอุปสรรคของการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันในมุมมองของบุคคลากรทางการแพทย์ คือมิติของบุคลากร ได้แก่ การขาดความรู้ความเข้าใจถึงขนาดยา วิธีการใช้ยา ข้อควรระวัง อาการข้างเคียงของยาสมุนไพร ทัศนคติเชิงลบของผู้สั่งใช้ที่มีต่อยาสมุนไพร การขาดความเชื่อมั่นในยาสมุนไพรของผู้สั่งใช้และผู้ป่วย ปัญหาในมิติของงบประมาณ,ค่าใช้จ่าย ได้แก่ ราคายาสมุนไพรค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับยาแผนปัจจุบัน ปัญหาในมิติของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ได้แก่ รายการยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติที่สามารถใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันมีไม่เพียงพอ ข้อมูลงานวิจัยที่สามารถอ้างอิงไม่เพียงพอ รูปแบบผลิตภัณฑ์ไม่สะดวกต่อการใช้ มีกลิ่นฉุน ปัญหาในมิติของกระบวนการทำงาน ได้แก่ ผู้บริหารยังให้ความสำคัญของแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือกน้อย การส่งเสริมให้เกิดคลินิกผู้ป่วยนอกแบบคู่ขนานของการแพทย์แผนไทยกับการแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่ชัดเจน เมื่อจำแนกตามวิชาชีพ พบว่าอุปสรรคที่สำคัญในมุมมองของแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลคือ ผู้มีสิทธิสั่งจ่ายยาที่จบการศึกษาการแพทย์และการพยาบาลแผนปัจจุบันยังมีความรู้ที่จำกัดในการใช้ยาสมุนไพร อุปสรรคที่สำคัญในมุมมองของแพทย์แผนไทยคือ ไม่ค่อยมีการส่งต่อผู้ป่วยจากการแพทย์แผนปัจจุบันมาให้แพทย์แผนไทยรักษา สรุปผลการวิจัย:ปัญหาและอุปสรรคของการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันที่ได้รับจากผู้ให้บริการที่สำคัญที่สุดคือปัญหาและอุปสรรคในมิติของบุคลากร การส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันในโรงพยาบาลควรมุ่งที่มิติของบุคคลากรโดยส่งเสริมความรู้ ทัศนคติและความเชื่อมั่น ต่อยาสมุนไพรให้บุคคลากรทางการแพทย์ให้มากขึ้น 
ผู้เขียน
585150044-1 น.ส. ปัทมา แคสันเทียะ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0