2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การปรับตัวของดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 15 กันยายน 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วัดวังตะวันตก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และ 2.เพื่อศึกษาการปรับตัวของดนตรีผู้ไท ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งได้จากการกำหนดความสำคัญของปัญหา การกำหนดขอบเขตการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทมีพูดภาษาผู้ไท บรรพบุรุษมีต้นกำเนิดอยู่บริเวณสิบสองจุไทย ทางตอนใต้ของประเทศจีนเมื่อราว 2,500 ปี ชาวผู้ไทอพยพเข้ามาในประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และประเทศไทย แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ได้แก่ ผู้ไทขาว ผู้ไทแดง และผู้ไทดำ อาศัยร่วมกันเป็นกลุ่มปะปนกัน การตั้งถิ่นฐาน กระจัดกระจายอยู่ทั่วใน สปป. ลาว และภาคอีสาน นิยมอาศัยที่ราบลุ่ม อยู่ในบริเวณเขตภูเขา อาศัยตามแหล่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ 2. การปรับตัวของดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มีการผสมผสานดนตรีผู้ไทเข้ากับดนตรีสมัยนิยม นำเสนอแนวคิดสร้างสรรค์ การบรรเลงมีทั้งรูปแบบดั้งเดิม และรูปแบบใหม่ๆ ส่งผลให้ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของดนตรีสมัยใหม่ ทำให้เกิดสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่มาผสมผสานกัน ความต้องการของตลาดเพลงทั้งโฆษณา เพลงประกอบภาพยนตร์ ด้วยการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี อินเตอร์เน็ต ชุมชนพัฒนาเป็นชุมชนเมืองมากขึ้น ใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เพื่อความอยู่รอดของดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท.  
     คำสำคัญ ชาวผู้ไท, ดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท, การปรับตัว 
ผู้เขียน
577220019-4 นาย สัญชัย ด้วงบุ้ง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0