2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การดำรงอยู่ของดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ในลุ่มแม่น้ำโขง  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 24 สิงหาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 11 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฏาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการดำรงอยู่ของดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท และการเปลี่ยนแปลงของดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ในลุ่มแม่น้ำโขง ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเข้าเก็บข้อมูลภาคสนาม ผลการศึกษาพบว่า 1. การดำรงอยู่ของดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ในลุ่มแม่น้ำโขง ด้านเครื่องดนตรี มีรูปแบบดั้งเดิม ใช้วัสดุจากธรรมชาติ ได้แก่ ปี่ผู้ไท ซอบั้งไม่ไผ่ แคนและเครื่องประกอบจังหวะ เป็นต้น ด้านวงดนตรี สำหรับประกอบพิธีกรรมเหยาและวงดนตรีสำหรับการบรรเลงเพื่อความบันเทิงประกอบการลำผู้ไทยังคงรูปแบบเดิม ด้านบทเพลง หรือลายเพลง มีลายผู้ไทใหญ่ และลายผู้ไทน้อย ยังคงอยู่เช่นเดิม 2. การเปลี่ยนแปลงของดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ในลุ่มแม่น้ำโขง ด้านเครื่องดนตรี ลักษณะทางกายภาพ และวัสดุที่ใช้คงเดิม เปลี่ยนแปลงเฉพาะวัสดุที่ใช้ทำลิ้นแคนและลิ้นปี่ผู้ไท จากเดิมเคยใช้เหรียญสมัยโบราณ มาใช้เข็มขัดเงิน และทองคำแทน ด้านวงดนตรี วงดนตรีสำหรับประกอบพิธีกรรมเหยา ยังคงลักษณะดั้งเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนวงเพื่อความบันเทิง มีการผสมผสานนำเครื่องดนตรีตะวันตกบรรเลงร่วม มีการจัดการประกวดดนตรีและศิลปะหัตกรรมของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) การจัดกิจกรรมผู้ไทในระดับอำเภอ จังหวัด ผู้ไทนานาชาติ และผู้ไทโลก เกิดการเปลี่ยนแปลงของวงดนตรีเน้นเพื่อการแสดง ด้านบทเพลง พิธีกรรมเหยายังคงใช้บทเพลงดั้งเดิม จะเปลี่ยนแปลงบทเพลงเพื่อความบันเทิง และด้วยกระแสความนิยมในบทเพลงสมัยใหม่ จึงเน้นทำนอง เฮ็ดเทโรโฟนี่ (Heterophony) และเสียงประสานที่เกิดขึ้นระหว่างวงดนตรีกับเสียงลำ นักดนตรีได้แปลทำนองหลัก หรือเป็นลักษณะการด้นทำนอง เป็นการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของบทเพลงกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท  
     คำสำคัญ การดำรงอยู่, ดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท, การเปลี่ยนแปลง 
ผู้เขียน
577220019-4 นาย สัญชัย ด้วงบุ้ง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0