2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัญหาและข้อเสนอแนะในการทดแทนยาแผนปัจจุบันด้วยยาสมุนไพรในโรงพยาบาลของรัฐ: การศึกษานำร่องจากมุมมองของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 27 กันยายน 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร เภสัชกรรมไทย 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน ต.ค.-ธ.ค.
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะในการทดแทนยาแผนปัจจุบันด้วยยาสมุนไพรในโรงพยาบาลของรัฐ โดยศึกษาจากมุมมองของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ บุคคลากรทางการแพทย์ 30 คนในโรงพยาบาลของรัฐที่ตั้งในจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น และร้อยเอ็ด ประกอบด้วยแพทย์และพยาบาลวิชาชีพละ 10 คน เภสัชกรและแพทย์แผนไทยวิชาชีพละ 5 คน การเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกตามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อเพื่อรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะในการทดแทนยาแผนปัจจุบันด้วยยาสมุนไพรในโรงพยาบาลของรัฐ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามกรอบการจัดการ คือ บุคลากร งบประมาณ วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ และการจัดการและนโยบาย รวมถึงด้านผู้ใช้ยา ผลการวิจัย: ปัญหาในด้านบุคลากรที่พบมาก คือ การขาดความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพร ข้อเสนอแนะของผู้ให้ข้อมูลในการแก้ปัญหา คือ ให้จัดการอบรมให้ความรู้ด้านยาสมุนไพร ด้านงบประมาณมีปัญหาที่พบมาก คือ ต้นทุนการรักษาด้วยยาสมุนไพรต่อครั้งสูงกว่ายาแผนปัจจุบัน ข้อเสนอแนะ คือ ควรหาแนวทางลดต้นทุนยาสมุนไพร ด้านวัตถุดิบมีปัญหาที่พบมาก คือ สมุนไพรมีรูปลักษณ์ที่ไม่น่าใช้ จึงควรปรับปรุงรูปลักษณ์ให้น่าใช้มากขึ้น ด้านการจัดการและนโยบายพบปัญหา คือ ผู้บริหารยังไม่เห็นความสำคัญในเรื่องการทดแทนยาแผนปัจจุบันด้วยยาสมุนไพร ข้อเสนอแนะในด้านนี้ คือ กระทรวงสาธารณสุขควรหาแนวทางกระตุ้นเพื่อให้ผู้บริหารให้ความสำคัญมากขึ้น ปัญหาด้านผู้ใช้ยา ผู้ให้ข้อมูลมองว่า ผู้ป่วยยังไม่เชื่อมั่นยาสมุนไพร ดังนั้น ควรให้ข้อมูลเรื่องประสิทธิผลของยาสมุนไพรแก่ประชาชน สรุป: ปัญหาและข้อเสนอแนะของการทดแทนยาแผนปัจจุบันด้วยยาสมุนไพรในมุมมองของผู้ให้บริการที่สำคัญอยู่ในด้านบุคลากร จึงควรมุ่งส่งเสริมความรู้ ทัศนคติ และความเชื่อมั่นต่อยาสมุนไพรให้บุคคลากรทางการแพทย์ให้มากขึ้น ส่วนในด้านงบประมาณ ควรหาแนวทางในการลดต้นทุนของยาสมุนไพรให้ถูกลง 
     คำสำคัญ ยาสมุนไพร ยาแผนปัจจุบัน บัญชียาหลักแห่งชาติ โรงพยาบาลของรัฐ 
ผู้เขียน
585150044-1 น.ส. ปัทมา แคสันเทียะ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0