ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
ข้อแนะนำทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดสินเชื่ออเนกประสงค์ สำหรับกลุ่มราชการ/รัฐวิสาหกิจของธนาคารกรุงไทย สาขายางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
9 กรกฎาคม 2563 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการระดับชาติ ในความร่วมมือ 5 สถาบัน ประจำปี 2563 (BAs+ National Conference 2020) ภายใต้หัวข้อเรื่อง "Business Across Crisis" |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
สถานที่จัดประชุม |
ในรูปแบบการนำเสนอออนไลน์ |
จังหวัด/รัฐ |
กรุงเทพมหานคร |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
9 กรกฎาคม 2563 |
ถึง |
9 กรกฎาคม 2563 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2563 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
630-640 |
Editors/edition/publisher |
คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
บทคัดย่อ |
การศึกษานี้เป็นการกำหนดแนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่ออเนกประสงค์สำหรับกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจที่
เข้ามาใช้บริการ ธนาคารกรุงไทย สาขายางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการของกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อกำหนดแนวทางการตลาด มุ่งเน้นในการเพิ่มยอดสินเชื่ออเนกประสงค์สำหรับกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยการใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ธนาคารกรุงไทย สาขายางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 400 คน โดย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อวัดการกระจายตัวของข้อมูล ผลจากการศึกษา พบว่า กลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการสินเชื่ออเนกประสงค์ส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุอยู่ระหว่าง 30-39 ปีสถานภาพโสด มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 20,001- 30,000 บาท เป็นข้าราชการ ระดับการศึกษาปริญญาตรี โดยพฤติกรรมการเลือกใช้บริการสินเชื่ออเนกประสงค์ พบว่า ผู้ยื่นขอสินเชื่อมีอิทธิพลและมีการตัดสินใจเอง โดยไม่ได้รับอิทธิพลจากผู้อื่นในยื่นขอสินเชื่ออเนกประสงค์โดยยื่นขอสินเชื่อเพื่อนำไปใช้ปิดชำระหนี้ธนาคารอื่น ๆ โดยยื่นกู้ที่ธนาคารกรุงไทย สาขายางตลาด เพราะชื่อเสียงของธนาคารกรุงไทย สาขายางตลาด ซึ่งมีเพื่อนร่วมงานเป็นผู้แนะนำมายื่นกู้ที่ธนาคารกรุงไทย สาขายางตลาด ซึ่งลูกค้าที่มาใช้บริการเคยใช้บริการที่ธนาคารกรุงไทยสาขากาฬสินธุ์มาก่อน
หลังจากได้รับการบริการลูกค้าจะแนะนำและบอกต่อให้ลูกค้ารายอื่นมาใช้บริการ เพื่อสร้างแนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่ออเนกประสงค์จากพฤติกรรมการเลือกใช้บริการและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด จึงได้วิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเพิ่มยอดสินเชื่ออเนกประสงค์ของธนาคารกรุงไทย สาขายางตลาด 4 โครงการ คือ โครงการที่ 1 การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อให้กลุ่มข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ โครงการที่ 2 การใช้มาตรการช่วยเหลือ จากทางรัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือที่มีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดีโครงการที่ 3 การปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้กับลูกค้ากลุ่มข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโคโรน่า 2019 โครงการที่ 4 ทำการอนุมัติสินเชื่อในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบวิกฤตไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นกลุ่มแรก |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
ไม่มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|