2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การใช้ประโยชน์จากเถ้าชานอ้อยเพื่อปลูกต้นมะรุมในดินเค็ม 
Date of Distribution 18 November 2020 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมระดับชาติ ครั้งที่ 3 
     Organiser สถาบันอุดมศึกษาสิ่งแวดล้อม และ มหาวิทยาลัยบูรพา 
     Conference Place คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 
     Province/State ชลบุรี 
     Conference Date 18 November 2020 
     To 19 November 2020 
Proceeding Paper
     Volume 2020 
     Issue
     Page 167-169 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract บทคัดย่อ เถ้าชานอ้อย (Bagasse fly ash) เป็นวัสดุเหลือทิ้งที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ชานอ้อยเพื่อผลิต ไฟฟ้าหรือพลังงานความร้อนจากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล งานวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากเถ้า ชานอ้อยเพื่อปลูกต้นมะรุมในดินความอุดมสมบูรณ์ต่ำและดินเค็ม ทดสอบโดยใช้เถ้าชานอ้อยที่เป็นวัสดุเหลือ ทิ้ง จากโรงงานน้ำตาลที่ผ่านกระบวนการเผาไหม้ชานอ้อยเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ร่วมกับวัสดุอินทรีย์อื่น ได้แก่ ปุ๋ย หมักมูลไส้เดือนดิน และขุยมะพร้าว ในการปลูกต้นมะรุมในดินความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และดินเค็ม วางแผนการ ทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบ Least Significant Difference (LSD) จำนวน 10 ตำรับการทดลอง จากการศึกษาพบว่าการใช้เถ้าชานอ้อยร่วมกับวัสดุอินทรีย์อื่นๆ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่าค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าการนำ ไฟฟ้ามีค่าลดลง และปริมาณธาตุอาหารมีค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไนโตรเจนใน อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และนอกจากนี้ยังพบว่าต้นพืชมีการดูดใช้โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์จากปริมาณที่ลดลง แสดงให้เห็นว่าเถ้าชาน อ้อยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรโดยช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน และมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อใช้ ร่วมกับปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและขุยมะพร้าว คำสำคัญ: เถ้าชานอ้อย, ดินความอุดมสมบูรณ์ต่ำ, ดินเค็ม, ต้นมะรุม 
Author
617030018-8 Mr. NATTAKIT PETMUENWAI [Main Author]
Agriculture Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0