ชื่อบทความ |
Height loss |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
12 กันยายน 2560 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารกายภาพบาบัด |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
39 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
|
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2560 |
หน้า |
120-133 |
บทคัดย่อ |
ความสูงที่หายไป (height loss) เป็นผลจากการทำกิจกรรมที่มีแรงกระทำต่อลำกระดูกสันหลัง (spinal loading) ในชีวิตประจำวัน เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และการลดลงของปริมาณน้ำของหมอนกระดูกสันหลัง (intervertebral disc) ซึ่งพบว่าความสูงของมนุษย์จะลดลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปในช่วงวัน โดยความสูงที่หายไปจะเกิดขึ้นประมาณร้อยละ 1.1 ของความสูงของร่างกาย ซึ่งความสูงที่หายไปส่วนใหญ่นั้นเกิดขึ้นบริเวณของหมอนกระดูกสันหลังส่วนเอว แต่อย่างไรก็ตามเมื่ออยู่ในท่านอนราบ (recumbent position) จะส่งผลให้เกิดการลดลงของแรงที่กระทำต่อลำกระดูกสันหลัง และแรงดันภายในหมอนกระดูกสันหลัง และเกิดการดูดกลับของสารน้ำ (fluid) เข้าสู่หมอนกระดูกสันหลัง จึงทำให้ความสูงสามารถกลับมาอยู่ในระดับปกติได้ แต่อย่างไรก็ตามระดับของความสูงที่หายไปนั้นจะขึ้นอยู่กับผลของปัจจัยต่างๆ โดยพบว่าหากปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการลดลงของความสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อาจจะทำให้เกิดการสูญเสียคุณสมบัติของหมอนกระดูกสันหลัง และส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการทำงาน และภาระทางด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นบทความนี้จึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้าง และชีวกลศาสตร์ของหมอนกระดูกสันหลัง รวมถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบให้เกิดความสูงที่หายไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เกิดความตระหนักในการหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรม และปัจจัยที่มีผลกระทบให้เกิดการหายไปของความสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระหว่างวัน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้ในอนาคต |
คำสำคัญ |
Height loss, Influence factor, Stadiometer, Spinal loading, Low back pain |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|