Title of Article |
เทคนิคสัมผัสพืชด้วยวิธีกลโดยการปัดแปรงเพื่อการผลิตแก่นตะวันเป็นไม้กระถาง |
Date of Acceptance |
2 December 2020 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารแก่นเกษตร |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
กองบรรณาธิการ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
Volume |
49 |
Issue |
4 |
Month |
ก.ค.-ส.ค. |
Year of Publication |
2021 |
Page |
|
Abstract |
การศึกษาการสัมผัสพืชด้วยวิธีกล (Mechanical stimulation: MS) เป็นวิธีหนึ่งในการควบคุมความสูงของพืช เพิ่มความกะทัดรัด ความสม่ำเสมอ และช่วยเพิ่มความแข็งแรงของพืชได้ จึงนำมาประยุกต์ใช้ในการผลิตไม้กระถาง (potted plant) ทดแทนการใช้สารเคมีกลุ่มสารชะลอการเจริญเติบโต (plant growth retardant: PGR) ซึ่งอาจมีผลตกค้างในผลผลิต ดำเนินการศึกษาการตอบสนองของการสัมผัสโดยการปัดแปรง (brushing) ต่อการเจริญเติบโตของแก่นตะวัน (Jerusalem artichoke) พันธุ์เบอร์ 3 หรือพันธุ์ CN 52867 เพื่อผลิตเป็นไม้ดอกกระถางพร้อมบริโภค (edible flowering potted plant) โดยปลูกต้นกล้าแก่นตะวันที่ได้จากการบ่มหัวพันธุ์ซึ่งหั่นเป็นแว่นๆ ในกระถางพลาสติกขนาด 6 x 12 นิ้ว ที่บรรจุวัสดุปลูก คือ ทราย: ขุยมะพร้าว: แกลบดำ ในอัตราส่วน 1:1:1 เมื่อต้นกล้าแก่นตะวันอายุ 20 วันหลังเพาะหรือยอดยาวประมาณ 15 เซนติเมตร (จำนวน 6 ใบ) คัดเลือกต้นที่สมบูรณ์เข้าสู่กรรมวิธี ต่างๆ ดำเนินงานทดลองโดยวางแผนการทดลองแบบ CRD มีทั้งหมด 3 กรรมวิธี คือ T1: กรรมวิธีควบคุม (ไม่มีการสัมผัสต้นพืช), T2: กรรมวิธีการปัดแปรง 15 นาที และ T3: กรรมวิธีการปัดแปรง 30 นาที ภายใต้การติดตั้งระบบการสัมผัสพืชแบบอัตโนมัติ ด้วยอัตราความเร็ว 1.8 เมตรต่อนาที ผลการทดลอง พบว่า กรรมวิธีการสัมผัสพืชโดยการปัดแปรงทั้ง 2 แบบ (T2 และ T3) สามารถลดความสูงต้น ความกว้างทรงพุ่ม น้ำหนักแห้งใบ และอัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์ด้านความสูง แต่เพิ่มค่าความกะทัดรัดของต้นแก่นตะวันได้ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นปกติ (กรรมวิธีควบคุม) การปัดแปรงจึงมีศักยภาพที่จะใช้พัฒนาแก่นตะวันเป็นไม้กระถางได้ |
Keyword |
การสัมผัสพืชด้วยวิธีกล, การปัดแปรง, แก่นตะวัน, ไม้กระถาง, ความกะทัดรัด |
Author |
|
Reviewing Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
false |
Part of thesis |
true |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|