2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความสัมพันธ์ของปริมาณแบคทีเรียโคลิฟอร์มและฟีคัลโคลิฟอร์มในน้ำประปาหมู่บ้าน กับประสิทธิผลของคลอรีน  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 ธันวาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสุขาภิบาลอาหารและน้ำ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 12 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน - กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณแบคทีเรียโคลิฟอร์ม (Total Coliform Bacteria: TCB) และฟีคัลโคลิฟอร์ม (Faecal Coliform Bacteria: FCB) ในน้ำประปาหมู่บ้านกับประสิทธิผลของคลอรีน เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเข้มข้นคลอรีนที่มีต่อปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือ 2) ศึกษาระดับความเข้มข้นคลอรีนที่มีต่อปริมาณแบคทีเรียโคลิฟอร์มและฟีคัลโคลิฟอร์ม และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณแบคทีเรียโคลิฟอร์มและ ฟีคัลโคลิฟอร์ม กับปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำประปาหมู่บ้าน ในระยะเวลาสัมผัสที่แตกต่างกัน ทำการทดลองภายใต้สภาวะควบคุม ได้แก่ ควบคุมความเป็นกรด - ด่างของตัวอย่างน้ำ (pH) ให้มีค่าในช่วง 6.5 – 8, ควบคุมแสงโดยการเก็บตัวอย่างน้ำไว้ในที่มืด และควบคุมการระเหยของคลอรีนโดยการปิดฝาภาชนะที่บรรจุตัวอย่างน้ำ แล้วเติมคลอรีน ในตัวอย่างน้ำที่มีปริมาณ TCB ในช่วง 0 - 1,000 mg/L ให้มีความเข้มข้น 1.50 mg/L , 1.75 mg/L และ 2.00 mg/L , ช่วง 1,001 - 2,000 mg/L ให้มีความเข้มข้น 1.75 mg/L , 2.00 mg/L และ 2.25 mg/L และช่วง 2,001 - 3,000 mg/L ให้มีความเข้มข้น 2.00 mg/L , 2.25 mg/L และ 2.50 mg/L จากนั้นตรวจวิเคราะห์ปริมาณ TCB และFCB และคลอรีนอิสระคงเหลือ (Residual Chlorine) ในระยะเวลาสัมผัส (Contact Time) 0 , 2 , 4 , 6 และ 24 ชั่วโมง พบว่า ระดับความเข้มข้นของคลอรีน (Chlorine concentration) ที่น้อยที่สุดที่สามารถกำจัด TCB และFCB ได้หมดในระยะเวลาสัมผัส 4 ชั่วโมง ในน้ำประปาหมู่บ้าน ที่มีปริมาณ TCB ในช่วงที่ 1, 2 และ 3 คือ 1.75 mg/L , 2.00 mg/L และ 2.25 mg/L ตามลำดับ เมื่อหาความสัมพันธ์ของปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือกับปริมาณTCB และFCB พบว่าปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำประปาหมู่บ้าน ไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณ TCB (r = 0.4042) และ FCB (r = 0.1001) ในตัวอย่างน้ำที่เติมคลอรีนที่ระดับความเข้มข้น 1.50 mg/L (TCB ช่วง 0 – 1,001 MPN/100 mL) และปริมาณ TCB (r = 0.9080) ในตัวอย่างน้ำที่เติมคลอรีนที่ระดับความเข้มข้น 1.75 mg/L (TCB ช่วง 1,001 – 2,000 MPN/100 mL) และพบว่าปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำประปาหมู่บ้าน มีความสัมพันธ์ความสัมพันธ์เชิงลบในระดับสูงกับปริมาณ TCB (r = 0.8237) ที่เติมคลอรีนที่ความเข้มข้น 2.00 mg/L (TCB ช่วง 2,001 – 3,000 MPN/100 mL) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p-value = 0.0002) ผลที่ได้ จากการทดลองเหมาะสำหรับการนำไปทดลองใช้ในระบบประปาหมู่บ้านที่สามารถจ่ายน้ำประปาไปยังบ้านเรือน ที่ตั้งอยู่ไกลที่สุดแล้วใช้ระยะเวลาไม่เกิน 6 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น สารละลายในน้ำ เป็นต้น  
     คำสำคัญ ประสิทธิผลของคลอรีน / ระยะเวลาสัมผัส / สภาวะควบคุม / ปริมาณคลอรีนที่เหมาะสม 
ผู้เขียน
615110083-8 น.ส. นิภาพร มหาแสน [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0