Title of Article |
อุบัติการณ์ของยุงลายบ้าน Aedes aegypti (L.) บริเวณแหล่งเกาะพักภายในบ้านในเขตจังหวัดมหาสารคาม |
Date of Acceptance |
13 March 2020 |
Journal |
Title of Journal |
แก่นเกษตร |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
Volume |
|
Issue |
2 |
Month |
|
Year of Publication |
2020 |
Page |
425-430 |
Abstract |
ยุงลายบ้าน Aedes aegypti (L.) เป็นแมลงพาหะนำเชื้อไวรัสโรคไข้เลือดออก งานวิจัยเพื่อการป้องกันจำกัดส่วนใหญ่จะเป็นการสำรวจเพื่อควบคุมลูกน้ำและตัวโม่งยุงลายบ้านในช่วงที่มีการระบาดของโรค เพื่อให้การลดประชากรยุงพาหะมีประสิทธิภาพสูงสุด ควรมีการควบคุมทั้งในระยะลูกน้ำและตัวเต็มวัยยุงลายบ้านในแหล่งที่อยู่อาศัยที่แท้จริงของยุงลาย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเกาะพักของยุงลายบ้านภายในบ้านเรือนเขตพื้นที่ชนบทของจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 120 ครัวเรือน ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2562 ผลการศึกษาพบจำนวนยุงลายบ้านตัวเต็มวัยทั้งหมด 946 ตัว เพศผู้ 430 ตัว (45.5%) เพศเมีย 516 ตัว (54.5%) และพบว่าห้องนอนมีจำนวนยุงลายบ้านมากที่สุดสัดส่วนอัตราอุบัติการณ์ของยุงลายบ้านในห้องนอนมีมากกว่าห้องน้ำ ห้องครัว และห้องนั่งเล่น 20, 21 และ 15เท่าตามลำดับ ในระดับความสูงของห้องที่แตกต่างกัน3 ระดับวัดจากพื้นห้องได้แก่ ระดับความสูงที่ 1 (0 - 0.75 เมตร) ระดับความสูงที่ 2 (0.75-1.5 เมตร) และระดับความสูงที่ 3(>1.5 เมตร)พบว่าระดับความสูง0.75 - 1.5 เมตร มีอัตราการเกิดจำนวนยุงลายมากกว่า ระดับความสูงที่ 1 และ 3 จำนวน 20 และ 46 เท่า ตามลำดับ สัดส่วนอัตราอุบัติการณ์ของยุงลายบ้านในช่วงเวลาเช้าและบ่าย ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) ซึ่งข้อมูลพฤติกรรมการเกาะพักของยุงลายบ้านนี้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเลือกใช้วิธีการป้องกันกำจัดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด |
Keyword |
ยุงลายบ้าน,โรคไข้เลือดออก, แหล่งเกาะพักภายในบ้าน, สัดส่วนอุบัติการณ์การของยุงลายบ้าน |
Author |
|
Reviewing Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ตีพิมพ์แล้ว |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
false |
Part of thesis |
true |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|