2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ผลของระดับความเค็มต่อการงอกของเมล็ดพืชและการใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินร่วมกับ วัสดุอินทรีย์เพื่อส่งเสริมการงอกของเมล็ดโสนแอฟริกาในสภาพเรือนทดลอง 
Date of Distribution 25 January 2021 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 22 
     Organiser คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 25 January 2021 
     To 26 January 2021 
Proceeding Paper
     Volume 49 
     Issue
     Page 894-900 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract ปัญหาดินเค็มเป็นปัญหาทรัพยากรดินที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลกระทบต่อ การเจริญเติบโต ของพืช และผลผลิตทางการเกษตร โดยในพื้นที่ดินเค็มจัด ไม่สามารถเพาะปลูกพืชได้ ทำให้เกษตรกรขาดรายได้ ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับความเค็มต่อการงอกของเมล็ดพืชชนิดต่างๆ ที่มีศักยภาพในการปลูกในพื้น ที่ดินเค็มและผลของการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินร่วมกับวัสดุอินทรีย์ต่อการงอกของโสนแอฟริกา โดยประกอบด้วย 3 การ ทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 การศึกษาผลของความเค็มที่มีต่ออัตราการงอกของเมล็ดพืช โสนแอฟริกา (Sesbania rostrata) ผักเบี้ยใหญ่ (Portulaca oleracea L.) ไอช์ แพลนท์ (Mesembryanthemum crystallinum) และควินัว (Chenopodium quinoa) (โดยการเพาะเมล็ด) พบว่า โสนแอฟริกา (Sesbania rostrata) สามารถงอกได้จนถึงความเค็ม ปานกลาง (0-4 mS/cm) มีอัตราการงอก 36.67% ผักเบี้ยใหญ่ (Portulaca oleracea L.) สามารถงอกได้จนถึงความเค็ม มาก (0-8 mS/cm) มีอัตราการงอก 31.7% ส่วนไอซ์ แพลนท์ (Mesembryanthemum crystallinum) สามารถงอกได้ จนถึงความเค็มน้อย (0-2 mS/cm) มีอัตราการงอก 40 % และ ควินัว (Chenopodium quinoa) ไม่สามารถงอกได้ใน ทุกตำรับการทดลอง การทดลองที่ 2 การศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินร่วมกับวัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ และอัตราส่วน ที่ต่างกัน ต่อ อัตราการงอกของ โสนแอฟริกา (Sesbania rostrata) ในดินเค็มจัด พบว่า เมล็ดโสนแอฟริกามีอัตราการงอก สูงที่สุด 96.7 % ในดินเค็มจัด+ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 25:75, รองลงมาที่ดินเค็มจัด+ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน งอกได้ 90%, ดินเค็มจัด+แกลบ เท่ากับ 70%, ดินเค็มจัด+ดินพีทมอส งอกได้ 70% ดินเค็มจัด+ปุ๋ยคอก, ดินเค็มจัด+ถ่านชีวภาพ, ดิน เค็มจัด+แกลบดิบ งอกได้ 33.3% และ ที่อัตราส่วน 50:50 พบว่า เมล็ดโสนแอฟริกามีอัตราการงอกสูงที่สุด ที่ตำรับทดลอง ดินเค็มจัด+ขุยมะพร้าว งอกได้ 86.7% และส่วนที่อัตราส่วน 75:25 ไม่พบการงอกของเมล็ด การทดลองที่ 3 การศึกษาผล ของการใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินร่วมกับวัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ และอัตราส่วนที่ต่างกันต่อ อัตราการงอกของ โสนแอฟริกา (Sesbania rostrata) โดยใช้ดินเค็มจัด:สารอินทรีย์ปรับปรุงในอัตราส่วน 25:75 พบว่า ในตำรับทดลองที่มีการใช้ดินเค็ม จัด+ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน+แกลบเผา+ขุยมะพร้าว สัดส่วน 1:1:1 พบว่ามีอัตราการงอกของโสนแอฟริกาสูงที่สุดคือ 86.7 % จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินร่วมกับวัสดุอินทรีย์สามารถส่งเสริมการงอกของเมล็ดพืชที่มี ศักยภาพในการปลูกในพื้นที่ดินเค็มได้เพื่อช่วยเกษตรกรในพื้นที่ดินเค็มจัดสามารถปลูกพืชและสร้างรายได้ให้กับชุมชนได 
Author
617030018-8 Mr. NATTAKIT PETMUENWAI [Main Author]
Agriculture Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding true 
     Award Title รางวัลระดับชมเชย ในการนำเสนอโปสเตอร์ 
     Type of award รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     Organiser คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Date of awarding 25 มกราคม 2564 
Attach file
Citation 0