2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ของการทดสอบยกตัวในท่านั่ง 5 ครั้งกับการเคลื่อนไหวและการใช้งานในผู้สูงอายุ (Relationship between outcomes of five-time seated push-up test and mobility, and feasibility among older individuals) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 มกราคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 “Impact Rankings University” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยพะเยา 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยพะเยา  
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดพะเยา  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 มกราคม 2564 
     ถึง 28 มกราคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์
     Editors/edition/publisher กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 
     บทคัดย่อ การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้การทดสอบยกตัวในท่านั่ง 5 ครั้ง และความสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน จำนวน 46 ราย ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ผู้เข้าร่วมการวิจัยทุกรายได้รับการสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล และทดสอบการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตามลำดับโดยการสุ่ม ได้แก่ การทดสอบ timed up and go test ความเร็วในการเดินระยะทาง 10 เมตร การยกขาสูง 2 นาที แรงบีบมือ การลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง และการยกตัวในท่านั่ง 5 ครั้ง ร่วมกับบันทึกข้อมูลอาการและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างและหลังการทดสอบยกตัวในท่านั่ง 5 ครั้ง วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson correlation coefficients (r) ผลการศึกษาพบว่าอาสาสมัครทุกรายเป็นผู้ที่สามารถในการทำกิจวัตรประจำวันได้เองและสามารถทำการทดสอบยกตัวในท่านั่ง 5 ครั้งได้โดยไม่มีความผิดปกติเกิดขึ้น โดยระยะเวลาของการทดสอบยกตัวในท่านั่ง 5 ครั้ง มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับผลการทดสอบ TUGT (r = .345 (p<0.05) การทดสอบความเร็วในการเดิน (r = -.362, p<0.05) การทดสอบยกขาสูงสลับกัน 2 นาที (r = -.375, p<0.05) การทดสอบแรงบีบมือ (r = -.319, p<0.05) และการทดสอบลุกขึ้นยืน (r = .503, p<0.001) ผลการศึกษานี้ช่วยยืนยันความความเป็นไปได้และประโยชน์ของการทดสอบยกตัวในท่านั่ง 5 ครั้งซึ่งเป็นการทดสอบที่ง่ายและทำได้ในสถานที่ต่างๆ สำหรับการใช้เป็นการทดสอบทางเลือกทางคลินิกสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนที่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เอง The study aimed to explore the feasibility of using the 5-time seated push-up test (5PUT), and its correlation to mobility and muscle strength in 46 community-dwelling older individuals, aged 65 years and over. All participants were interviewed for their personal data, and assessed for their mobility and muscle strength using the timed up and go test (TUGT), the 10-meter walk test (10MWT), the 2-minute step test (2MST), handgrip test (HG test), the five-times sit-to-stand (FTSST), and the 5PUT in a random order. Any adverse events occurred during and after completing the 5PUT were also recorded. The relationship was analyzed using the Pearson correlation coefficients (r). The findings indicated that all participants were well-functioning and they could complete the 5PUT without any adverse events. Time to complete the 5PUT was statistically correlated to outcomes of TUGT (r = .345 (p<0.05), 10MWT (r = -.362, p<0.05), 2MST (r = -.375, p<0.05), HG test (r = -.319, p<0.05), and FTSST (r = .503, p<0.001). The present findings confirm the feasibility and benefit of 5PUT, a simple and practical measure, to be used as an alternative clinical tool for well-functioning community-dwelling older individuals. 
ผู้เขียน
607090011-5 นาย พุทธิพงษ์ พลคำฮัก [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคนิคการแพทย์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0