2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบทอดจากกล้วยน้ำว้า Development of Crispy Snack from Banana (Musa sapientum L. cv. Namwa)  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 มีนาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22 (ออนไลน์) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บันฑิตวิทยาลัย 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 มีนาคม 2564 
     ถึง 25 มีนาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2564 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 512-524 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของ แป้งกล้วยน้ำว้า:แป้งมันสำปะหลัง:กล้วยน้ำว้าสุกบด ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบกล้วยน้ำว้า (Musa sapientum L. cv. Namwa) โดยใช้ mixture design พบว่า แป้งผสมมีสมบัติในการเกิดเพสต์แตกต่างจากแป้งมันสำปะหลังและแป้งกล้วยน้ำว้าดิบ (p<0.05) ข้าวเกรียบแป้งผสมทั้ง 14 สูตรที่ได้มีความชื้น ไขมัน โปรตีน เส้นใย เถ้า และคาร์โบไฮเดรตอยู่ในช่วงร้อยละ 1.67–3.56, 9.29-19.08, 0.11-0.17, 0.09-0.32, 2.28-2.95 และ 74.65-84.46 ตามลำดับ ความหนาแน่นรวมและการพองตัวมีแนวโน้มสูงเมื่อส่วนผสมของแป้งมันสำปะหลังในอัตราส่วนที่สูงขึ้น ค่าความสว่าง (L*) สีแดง (a*) และสีเหลือง (b*) ของตัวอย่างข้าวเกรียบแตกต่างกัน (p≤0.05) โดยสีของข้าวเกรียบจะเข้มขึ้นตามอัตราส่วนของแป้งกล้วยดิบและกล้วยสุกที่เพิ่มขึ้น สูตรที่ 2 มีปริมาณสารฟีนอลิกสูงสุด (118.21mg GAE/100g) ความสามารถในการต้านออกซิเดชั่นด้วยวิธี DPPH สูงสุด (8.82 mg Trolox/100 g) และความสามารถในการต้านออกซิเดชั่นด้วยวิธี FRAP สูงสุด (95.25 mg Trolox/100 g) อย่างไรก็ตามผลการประเมินทางประสาทสัมผัสพบว่าสูตรที่ 5 ข้าวเกรียบแป้งผสมที่ประกอบด้วยแป้งกล้วย:แป้งมันสำปะหลัง:กล้วยสุกบด (14.03:65.00:20.97) มีค่าคะแนนการยอมรับโดยรวมสูงสุด (คะแนน 7.83) โดยจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สามารถทำนายอัตราส่วนแป้งผสมที่ให้ความชอบโดยรวมของข้าวเกรียบสูงสุด คือ แป้งกล้วยดิบ 19.87 แป้งมันสำปะหลัง 64.88 และกล้วยสุกบด 15.25 (p≤0.05) 
ผู้เขียน
595160015-3 นาย ธีรเดช กนกเมธากุล [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคโนโลยี ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0