Title of Article |
“วาทกรรมทางวัฒนธรรม” และ “ความไม่หลากหลายทางวัฒนธรรม ในหลักสูตรและแบบเรียนสังคมศึกษา ”ในหลักสูตรและแบบเรียนสังคมศึกษา |
Date of Acceptance |
28 July 2018 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารพื้นถิ่น โขง ชี มูล |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี |
ISBN/ISSN |
|
Volume |
5 |
Issue |
1 |
Month |
มกราคม - มิถุนายน |
Year of Publication |
2019 |
Page |
121-159 |
Abstract |
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ปฏิบัติการวาทกรรมทางวัฒนธรรมในหลักสูตรและแบบเรียนสังคมศึกษาวาทกรรมวัฒนธรรมที่ปรากฏในสังคมไทยในยุคปัจจุบัน เพื่อศึกษาบริบทของการเกิดวาทกรรมและการผลิตซ้ำวาทกรรมในหลักสูตรและแบบเรียนสังคมศึกษา ใการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์และการตีความจากแหล่งข้อมูลสำคัญต่อไปนี ้ (1) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2545 ที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พุทธศักราช 2553 (2) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั ้นพื ้นฐาน 2551 (3) หนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาจาก 3 สำนักพิมพ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย 3 สำนักพิมพ์และ(4) เอกสาร สิ่งพิมพ์และงานเขียนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย ในการศึกษาวิเคราะห์เชิงวิพากษ์วาทกรรมในครั้งนี ้ได้ใช้กรอบแนวคิดคิดของการศึกษาตามแนวทางของ Michael Foucault (1972: 21-29) ศึกษาบริบทของการก่อตัวของวาทกรรม ภาคปฏิบัติการอำนาจและความรู้ วาทกรรมทางวัฒนธรรมที่ใช้สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวเกับการรวมศูนย์อำนาจทางวัฒนธรรมในหลักสูตรและแบบเรียนสังคมศึกษาจากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า 1) วาทกรรมที่ปรากฏในหลักสูตรและการเรียนสังคมศึกษาที่เห็นเด่นชัด คือ “เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมหรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวทางวัฒนธรรม” 2) บริบทของการเกิดวาทกรรมทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในหลักสูตรยุคปัจจุบันเป็ นความต่อเนื่องการสร้างวาทกรรมทางวัฒนธรรมในอดีตที่เป็นผลมาจากมาจากการสร้างวาทกรรม“ความเป็นไทย” ในยุคของการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ในบริบทของการต่อสู้กัจักรวรรดินิยมตะวันตกและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจ และการจัดระเบียบการปกครองเพื่อทำให้คนเชื้อชาติต่าง ๆ ในดินแดนสยามมีสำนึกของความเป็นไทยต่อมาวาทกรรมความเป็นไทยถูกปรับเปลี่ยนเพื่อเผชิญกับสถานการณ์ทางการเมืองในแต่ละยุคและปัจจุบันถูกใช้เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อเผชิญหน้ากับสภาพเศรษฐกิจทุนนิยมและสังคมโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจสูง 3) การผลิตซ้ำและการขับเคลื่อนวาทกรรมทางวัฒนธรรมได้ดำเนินขับเคลื่อนผ่านสถาบันการศึกษาด้วยการสร้างความรู้ผ่านหลักสูตรและแบบเรียนเพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ หรือการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวและลดทอนความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยตัดขาดบริบทางประวัติศาสตร์การต่อสู้และต่อรองการเรียกร้องความเสมอภาคของกลุ่มวัฒนธรรมอันจะนำไปสู่ “ความไม่หลากหลายทางวัฒนธรรม” ในหลักสูตรแและแบบเรียนสังคมศึกษา ฉะนัั้นการเรียนการสอนสังคมศึกษาจะต้องให้ความสำคัญต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างจริงจังต่อไป
|
Keyword |
วาทกรรมทางวัฒนธรรม, ความไม่หลากหลายทางวัฒนธรรม, |
Author |
|
Reviewing Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ตีพิมพ์แล้ว |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
true |
Part of thesis |
false |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|