2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การพัฒนาแบบวัดทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน: การประยุกต์ใช้โมเดลเชิงโครงสร้าง 
Date of Acceptance 26 April 2021 
Journal
     Title of Journal วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN  
     Volume 28 
     Issue
     Month มกราคม-มิถุนายน
     Year of Publication 2021 
     Page  
     Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแผนที่โครงสร้างของทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ (2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะ การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2563 จำนวน 514 คน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จากจำนวนประชากรทั้งหมด 31,744 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน พัฒนาแบบวัดประยุกต์ตามโมเดลเชิงโครงสร้าง 4 ขั้นตอน คือ (1) พัฒนาแผนที่โครงสร้างของทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ (2) ออกแบบข้อคำถาม (3) กำหนดปริเขตของคำตอบ และ (4) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดล MRCML และพิจารณาผลการวิเคราะห์ด้วย Wright Map ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) แผนที่โครงสร้างทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ มี 2 มิติ คือ มิติการสร้างองค์ประกอบการโต้แย้ง มี 4 ระดับ คือ ระดับ 1 สร้างข้อสรุปที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด ไปยังระดับสูงสุด คือ ระดับ 4 โต้แย้งที่ต่างออกไปด้วยการตัดสินบนเหตุผล และมิติการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มี 4 ระดับ คือตั้งแต่ระดับ 1 คือ อธิบายด้วยเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือนักเรียนไม่สามารถจำเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ได้ จนไปถึงระดับสูงสุดคือระดับที่ 4 นักเรียนนำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนมาใช้อธิบาย (2) แบบวัดทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ มีทั้งหมด 22 ข้อ เป็นข้อคำถามปลายเปิด มีการตรวจให้คะแนนสองค่า และแบบหลายค่า ตั้งแต่ 0 ถึง 3 คะแนน โดยแบบวัดประกอบด้วยจำนวนข้อคำถามในมิติการสร้างองค์ประกอบของการโต้แย้ง และมิติการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ 12 ข้อ และ 10 ข้อ ตามลำดับ (3) ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดสะท้อนหลักฐานความตรง พบว่า ด้านความตรงของเนื้อหาของข้อคำถาม ข้อคำถามมีค่าความยากครอบคลุมช่วงความสามารถของนักเรียน นั่นคือ ข้อคำถามสามารถอธิบายทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ด้านหลักฐานความตรงเกี่ยวกับการตอบสนองของนักเรียน พบว่านักเรียนเข้าใจเนื้อหา หรือสถานการณ์ของข้อคำถาม ตรงกับจุดประสงค์ของผู้วิจัยต้องการให้นักเรียนตอบสนองต่อข้อคำถาม และหลักฐานความตรงด้านโครงสร้างภายใน ข้อคำถามสามารถนำไปใช้วัดทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ได้ (Infit MNSQ ระหว่าง 0.74 ถึง 1.35) ด้วยโมเดลการวัดแบบพหุมิติสอดคล้องกลมกลืนกับคำตอบของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (χ^2=17.8, df=2, p<.001) พร้อมกับโมเดลการวัดแบบพหุมิติมีค่า AIC BIC ต่ำกว่าโมเดลเอกมิติ เมื่อพิจารณาหลักฐานความเที่ยงของแบบวัด พบว่าการประเมินทั้งสองมิติมีค่าความเที่ยงแบบ EAP/PV เท่ากับ 0.89 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัดต่ำ โดย SEM θ_1 (มิติการสร้างองค์ประกอบการโต้แย้ง) ในช่วง (0.38 – 0.56) และ SEM θ_2 (มิติการใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์) ในช่วง (0.58 – 1.87) 
     Keyword การพัฒนาแบบวัด โมเดลเชิงโครงสร้าง การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์  
Author
595050095-2 Mr. PARINYA MUTCHA [Main Author]
Education Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0