2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ พฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันลิมโฟบลาสติกที่ได้รับเคมีบำบัด 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 มีนาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22 (ออนไลน์) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มห่วิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม ออนไลน์ 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 มีนาคม 2564 
     ถึง 25 มีนาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 22 
     Issue (เล่มที่) 22 
     หน้าที่พิมพ์ 580-592 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบลิมโฟบลาสติกที่ได้รับเคมีบำบัด ผู้เข้าร่วมการศึกษาเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กจำนวน 87 คน โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด มีเกณฑ์การคัดเลือกเข้าสู่การศึกษาคือ1) เป็นผู้ดูแลหลักของเด็กมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป 2) ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันลิมโฟบลาสติกที่มีอายุระหว่า 3 ถึง 12 ปี ใช้การสุ่มอย่างง่ายในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยเด็กป่วยของผู้ดูแลหลัก ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content Validity Index : CVI) เท่ากับ0.89 ค่าความเที่ยงของเนื้อหา (Reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (81.60%) เกี่ยวข้องกับเด็กโดยเป็นมารดาร้อยละ 59.8% อายุระหว่าง 40-49 ปี (29.90%) จบการศึกษามัธยมศึกษา (28.7%) ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันลิมโฟบลาสติก ส่วนใหญ่อยู่วัยเรียน (อายุ6-12ปี) ร้อยละ 70. 1 เป็นเพศชายร้อยละ 57.5 กำลังเรียนชั้นประถมศึกษาร้อยละ 55.17 ระยะเวลาในการได้รับเคมีครั้งหลังสุด 1-4 สัปดาห์ ร้อยละ 52.9 ระยะของการรักษาส่วนใหญ่ได้รับการรักษาอยู่ในระยะ Maintenance ร้อยละ 77 มีร้อยละของพฤติกรรมการดูแลที่เหมาะสมสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ 1) ให้ผู้ป่วยเด็กรักษาผิวหนังให้ชุ่มชื่นอยู่เสมอเพื่อป้องกันผิวหนังแห้งและมีรอยแตกโดยทาครีมบำรุงผิว ร้อยละ 95.4 2) ให้ผู้ป่วยเด็กใช้แปรงสีฟันที่อ่อนนุ่ม ในการทำความสะอาดช่องปากร้อยละ 89.7 3) ดูแลผู้ป่วยเด็กให้มีความสะอาดของเล็บมือ เล็บเท้า เช็ดให้แห้ง และตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ ร้อยละ 81.6 สำหรับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลที่ไม่เหมาะสมเรียงลำดับจากจำนวนมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ 1) ไม่ได้ให้ผู้ป่วยเด็กรับประทานของเปรี้ยวๆ เช่น ไอศกรีมรสมะนาว หรือ ขนมปังกรอบ ผลไม้รสเปรี้ยวเวลารู้สึกคลื่นไส้ร้อยละ 72.4 2) ไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเด็กได้พูดคุยกับเพื่อนๆ 72.4 3) ไม่ได้ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอุ่นๆในตอนเช้าก่อนอุจจาระ½ชั่วโมงเพื่อให้ผู้ป่วยเด็กขับถ่ายได้สะดวกร้อยละ 71.3 และไม่ได้ให้ผู้ป่วยเด็กอมน้ำแข็งและกลั้วในปากเมื่อผู้ป่วยมีอาการเจ็บปาก เจ็บคอ กลืนลำบากร้อยละ 70.1  
ผู้เขียน
585060025-6 นาง วิไลพร พลสูงเนิน [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0