2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title พฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันลิมโฟบลาสติกที่ได้รับเคมีบำบัด 
Date of Distribution 25 March 2021 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22 (ออนไลน์) 
     Organiser บัณฑิตวิทยาลัย มห่วิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place ออนไลน์ 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 25 March 2021 
     To 25 March 2021 
Proceeding Paper
     Volume 22 
     Issue 22 
     Page 580-592 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบลิมโฟบลาสติกที่ได้รับเคมีบำบัด ผู้เข้าร่วมการศึกษาเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กจำนวน 87 คน โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด มีเกณฑ์การคัดเลือกเข้าสู่การศึกษาคือ1) เป็นผู้ดูแลหลักของเด็กมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป 2) ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันลิมโฟบลาสติกที่มีอายุระหว่า 3 ถึง 12 ปี ใช้การสุ่มอย่างง่ายในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยเด็กป่วยของผู้ดูแลหลัก ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content Validity Index : CVI) เท่ากับ0.89 ค่าความเที่ยงของเนื้อหา (Reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (81.60%) เกี่ยวข้องกับเด็กโดยเป็นมารดาร้อยละ 59.8% อายุระหว่าง 40-49 ปี (29.90%) จบการศึกษามัธยมศึกษา (28.7%) ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันลิมโฟบลาสติก ส่วนใหญ่อยู่วัยเรียน (อายุ6-12ปี) ร้อยละ 70. 1 เป็นเพศชายร้อยละ 57.5 กำลังเรียนชั้นประถมศึกษาร้อยละ 55.17 ระยะเวลาในการได้รับเคมีครั้งหลังสุด 1-4 สัปดาห์ ร้อยละ 52.9 ระยะของการรักษาส่วนใหญ่ได้รับการรักษาอยู่ในระยะ Maintenance ร้อยละ 77 มีร้อยละของพฤติกรรมการดูแลที่เหมาะสมสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ 1) ให้ผู้ป่วยเด็กรักษาผิวหนังให้ชุ่มชื่นอยู่เสมอเพื่อป้องกันผิวหนังแห้งและมีรอยแตกโดยทาครีมบำรุงผิว ร้อยละ 95.4 2) ให้ผู้ป่วยเด็กใช้แปรงสีฟันที่อ่อนนุ่ม ในการทำความสะอาดช่องปากร้อยละ 89.7 3) ดูแลผู้ป่วยเด็กให้มีความสะอาดของเล็บมือ เล็บเท้า เช็ดให้แห้ง และตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ ร้อยละ 81.6 สำหรับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลที่ไม่เหมาะสมเรียงลำดับจากจำนวนมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ 1) ไม่ได้ให้ผู้ป่วยเด็กรับประทานของเปรี้ยวๆ เช่น ไอศกรีมรสมะนาว หรือ ขนมปังกรอบ ผลไม้รสเปรี้ยวเวลารู้สึกคลื่นไส้ร้อยละ 72.4 2) ไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเด็กได้พูดคุยกับเพื่อนๆ 72.4 3) ไม่ได้ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอุ่นๆในตอนเช้าก่อนอุจจาระ½ชั่วโมงเพื่อให้ผู้ป่วยเด็กขับถ่ายได้สะดวกร้อยละ 71.3 และไม่ได้ให้ผู้ป่วยเด็กอมน้ำแข็งและกลั้วในปากเมื่อผู้ป่วยมีอาการเจ็บปาก เจ็บคอ กลืนลำบากร้อยละ 70.1  
Author
585060025-6 Mrs. WILAIPORN PONSOONGNERN [Main Author]
Nursing Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum