ชื่อบทความ |
แง่มุมเชิงอารมณ์ของนิสัยการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด (EMOTIONAL ASPECT OF STUDENTS’ MATHEMATICAL REASONING HABITS IN MATHEMATICS CLASSROOM IMPLEMENTING LESSON STUDY AND OPEN APPROACH) |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
29 เมษายน 2564 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สำนักวิชาการ วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
ISBN/ISSN |
2651-0820(Print), 2539-5777(Online) |
ปีที่ |
8 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม-เมษายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แง่มุมเชิงอารมณ์ของนิสัยการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 8 คน โรงเรียนบ้านโนนแสนคำหนองศาลา
ศรีสะอาด อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต การบันทึกภาพและวีดิทัศน์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการตรวจสอบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า ตามแนวคิดของ Inprasitha (2011) มีการใช้การศึกษาชั้นเรียนที่ส่งเสริมแง่มุมดังกล่าวโดยการทำงานร่วมกันระหว่างผู้วิจัย ผู้ช่วยวิจัย และครูผู้สอน และการใช้วิธีการแบบเปิดทำให้เห็นนิสัยการให้เหตุผลทั้ง 4 แง่มุม ได้แก่ การวิเคราะห์ปัญหา การนำยุทธวิธีไปใช้ การใช้การเชื่อมโยง และการสะท้อนคิดของวิธีการแก้ปัญหา โดยมีแง่มุมเชิงอารมณ์ที่เกิดขึ้นดังนี้ 1. การนำเสนอปัญหาปลายเปิด นักเรียนมีปัญหาเป็นของตนเองโดยมีอารมณ์ตื่นเต้นที่ได้วิเคราะห์ปัญหา 2. การเรียนรู้ด้วยตัวเองของนักเรียน นักเรียนครุ่นคิดจากการวิเคราะห์ปัญหา ตื่นเต้นที่ได้แนวคิดจากยุทธวิธี ดีใจเมื่อเชื่อมโยงแนวคิดได้ และมั่นใจที่สะท้อนคิดวิธีการแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง 3. การอภิปรายของนักเรียนทั้งชั้น นักเรียนเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของแนวคิดที่สร้างโอกาสการเรียนรู้ด้วยตัวเองกับเพื่อนๆ มีการครุ่นคิดเมื่อวิเคราะห์ปัญหาหน้าชั้น ตื่นเต้นในยุทธวิธีการแก้ปัญหาทั้งชั้น และดีใจที่สามารถเชื่อมโยงแนวคิดจากเพื่อนได้ และ 4. การสรุปเชื่อมโยงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน นักเรียนดีใจที่สามารถสรุปเชื่อมโยงแนวคิดทั้งชั้นเพื่อเป็นวิธีการเรียนรู้ในคาบถัดไป |
คำสำคัญ |
แง่มุมเชิงอารมณ์; นิสัยการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์; การศึกษาชั้นเรียน; วิธีการแบบเปิด |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|