ชื่อบทความ |
การประยุกต์ใช้เคิร์ลของสนามเวกเตอร์ปฏิสัมผัสสำหรับการตรวจจับเส้นขอบของภาพสี |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
31 สิงหาคม 2563 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
32 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
กรกฎาคม–กันยายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
13 |
บทคัดย่อ |
เส้นขอบของภาพเป็นสิ่งจำเป็นต่อการประมวลผลภาพในหลายแขนง วิธีการตรวจจับเส้นขอบที่นิยมอย่างเช่นขั้นตอนวิธีของ Canny ใช้การไล่ระดับความเข้มของภาพเฉดสีเทาเพื่ออธิบายเส้นขอบโดยใช้เกรเดียนต์ แต่สารสนเทศของ เกรเดียนต์ดังกล่าวนั้นไม่สามารถใช้กับภาพสีธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นบทความนี้จึงนำเสนอการประยุกต์ใช้งานเคิร์ลของสนามเวกเตอร์ปฏิสัมผัสที่คำนวณจากข้อมูลภาพสีโดยตรงเพื่อใช้เป็นสารสนเทศในการตรวจจับเส้นขอบของภาพสีธรรมชาติแทนการใช้ขนาดของเกรเดียนต์ที่ใช้ในขั้นตอนวิธีของ Canny แบบดั้งเดิม ผลการทดลองการตรวจจับขอบโดยใช้ภาพสีในฐานข้อมูลมาตรฐาน BSDS500 แสดงให้เห็นว่าขั้นตอนวิธีที่ใช้เคิร์ลของสนามเวกเตอร์ปฏิสัมผัสสามารถตรวจจับเส้นขอบในภาพสีได้เป็นอย่างดี เมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์การตรวจจับขอบของวิธีการที่นำเสนอกับผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนวิธีของ Canny แบบดั้งเดิมที่ใช้ขนาดของเกรเดียนต์ ผลการทดลองพบว่าวิธีการที่ใช้เคิร์ลของสนามเวกเตอร์ปฏิสัมผัสให้ค่า F-measure ที่ดีกว่าผลลัพธ์ของวิธีการที่ใช้ขนาดของเกรเดียนต์ในทุกกรณี ทั้ง F-measure แบบ ODS IDS และ AP ในกรณีที่ใช้ค่าขีดแบ่งแบบคงที่และในกรณีที่ใช้ค่าขีดแบ่งแบบปรับค่าได้ |
คำสำคัญ |
การตรวจจับขอบในภาพสี เคิร์ล สนามเวกเตอร์ปฏิสัมผัส สนามเวกเตอร์แนวฉากแบบบีบอัด |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|