2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ กระบวนการพัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา: บริบทพื้นที่ที่มีการแต่งงานข้ามชาติ  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 มิถุนายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่ 38 
     เดือน กันยายน - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของสังคมพหุวัฒนธรรมในบริบทพื้นที่ที่มีการแต่งงานข้ามชาติ และ (2) ศึกษากระบวนการพัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาที่สนองต่อบริบทพื้นที่ที่มีการแต่งงานข้ามชาติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วมแบ่งออกเป็น 3 ระย ประกอบด้วย (1) ระยะศึกษาสภาพปัจจุบัน (2) ระยะการศึกษากระบวนการพัฒนาหลักสูตร และ (3) ระยะสะท้อนกระบวนการพัฒนาหลักสูตร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การพูดคุยแบบไม่เป็นทางการและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีจำแนกชนิดข้อมูลและวิธีการอุปนัยที่สร้างสรุปจากปรากฏการณ์และตรวจสอบข้อมูลโดยมีส่วนเกี่ยวข้อง (Member Checking) ผู้ร่วมวิจัย/ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย (1) นักเรียนลูกครึ่ง 5 คน (2) นักเรียนกลุ่มหลัก 35 คน (4) ผู้บริหารและครู 16 คน และ (5) ผู้ปกครองและคนในชุมชน 14 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของสังคมพุหุวัฒนธรรมในชทบทอีสานที่พบว่าการแต่งงานข้ามชาติเป็นเงื่อนไขของสังคมพหุวัฒนธรรมทำให้เกิดลูกครึ่งในชนบทอีสาน แม้ว่าจะมีการยอมรับภาพลักษณ์ของลูกครึ่งที่ปรากฎกณ์ทั่วไปในสื่อ แต่ลูกครึ่งในชุมชนที่ผู้วิจัยเข้าไปศึกษายังเผชิญกับการถูกมองในลักษณะความเป็นอื่น การถูกล้อเลียน และการเสียดสีอัตลักษณ์ทางกายภาพซึ่งถือเป็นอคติทางวัฒนธรรม จึงเป็นภาวะที่มีความจำเป็นสำหรับการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับความหลากหลายอย่างเข้าใจและลดอคติทางวัฒนธรรมที่มีต่อกันลง (2) การพัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาที่จะตอบสนองบริบทควรชุมชนดังกล่าวนั้นเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการใช้อัตชีวประวัติที่เน้นการนำเอาชีวิตและสังคมผู้เรียนมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยวิธี Method of the Currere ของ Pinar (1975) ซึ่งเป็นกระบวนการของหลักสูตรที่ประกอบด้วย กระบวนการ Regressive มองอดีต กระบวนการ Progressive มองอนาคต กระบวนการ Analytic วิเคราะห์ และ กระบวนการ Synthesis สังเคราะห์ (3) กระบวนการพัฒนาหลักสูตรด้วยวิธีการ Method of the Currere ทำให้นักเรียนที่เกิดกระบวนการคิดและความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับชีวิตและสังคม และเกิดความเข้าใจกระบวนการหล่อหลอมมุมมอง ทัศนะหรือความคิดที่นำมาสู่การตระหนักต่อสถานการณ์ข้ามวัฒนธรรม  
     คำสำคัญ การพัฒนาหลักสูตร, พหุวัฒนธรรมศึกษา, ความหลากหลายทางวัฒนธรรม 
ผู้เขียน
607050005-4 นาย ทิชานนท์ ชุมแวงวาปี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0