2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารในความปกติใหม่และประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 พฤษภาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษาระดับชาติและนานาชาติประจำปี 2564 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร (ออนไลน์) 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 14 พฤษภาคม 2564 
     ถึง 14 พฤษภาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 650-659 
     Editors/edition/publisher ผศ.ดร.ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะของผู้บริหารในความปกติใหม่ 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารในความปกติใหม่กับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้างานบริหารวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1-5 จำนวน 278 โรงเรียนกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.966 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะของผู้บริหารในความปกติใหม่ของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัว ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านทักษะการสื่อสาร 2) ระดับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่นในภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารในความปกติใหม่กับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติติที่ระดับ 0.01  
ผู้เขียน
625050052-3 นาย ศราวุธ โชคเจริญ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0