2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การจัดการนวัตกรรมองค์การของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย : การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 พฤษภาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษาระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2564 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ (ออนไลน์) 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 14 พฤษภาคม 2564 
     ถึง 14 พฤษภาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 261-267 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อสร้างทฤษฎีฐานรากนี้ เป็นการเสนอข้อสรุปเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมองค์การของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยโดยทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะปรากฏการณ์เงื่อนไข และผลสืบเนื่องของการจัดการนวัตกรรมองค์ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย โดยใช้วิธีการที่หลากหลายในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมการสนทนากลุ่มย่อยการศึกษาเอกสาร และบันทึกข้อมูลเชิงบรรยายจากหลักฐานอ้างอิงเชิงประจักษ์ที่นำไปสู่ข้อสรุปของลักษณะปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่วิจัยซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกเชิงทฤษฎี มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงบรรยาย โดยบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในการจัดการพฤติกรรมกระบวนการทำงาน และประสบการณ์ของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องที่มีความสอดคล้องกับประเด็นทฤษฎี ซึ่งจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถตีความหมายของสิ่งที่เกิดขึ้นและเชื่อมโยงไปสู่การสังเคราะห์เพื่อสรุปทฤษฎี กลุ่มเป้าหมายหลักในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหารครูและบุคลากรภายในโรงเรียนการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางของทฤษฎีฐานรากโดยยึดกว่าการแปลความและตีความหมายข้อมูลในรูปแบบเชิงระบบของ Strauss & Corbin(2015) ที่เน้นขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล 4 ขั้นตอน คือ การเปิดรหัส การหาแก่นของรหัส การเลือกรหัส และการพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุผลหรือแผนภาพของทฤษฎี โดยผู้วิจัยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ช่วยในการจัดระบบเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนาสู่การนำเสนอข้อสรุปเชิงทฤษฎีแปล ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะของปรากฏการณ์การจัดการนวัตกรรมองค์การของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ประกอบด้วยการจัดการโครงสร้างยืดหยุ่น การนจัดการนโยบายนวัตกรรม การจัดการความรู้ การสร้างวัฒนธรรมเชิงนวัตกรรม และเครือข่ายนวัตกรรม 2) เงื่อนไขเชิงสาเหตุของการจัดการนวัตกรรมองค์การของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ได้แก่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ของโรงเรียน โดยมีเงื่อนไขเชิงบริบท คือ ภารกิจ และตัวชี้วัดความสาเร็จของโรงเรียนวิทยาศาสตร์อีกทั้งเงื่อนไขเชิงสอดแทรก ได้แก่ ภูมิสังคมของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ และการส่วนร่วมที่เข้มแข็งของบุคลลากรในองค์การของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ โดยมีองค์ประกอบ สามเสาหลักเป็นยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการจัดการนวัตกรรมองค์การในประเทศไทยให้ประสบผลสำเร็จซึ่งได้แก่ ความรู้ ผู้ปฏิบัติ และผู้บริหาร และ3) ผลสืบเนื่องที่เกิดจาการจัดการนวัตกรรมองค์การของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ได้แก่ วัฒนธรรมขององค์การคุณภาพการศึกษา และชุมชนนวัตกรรม 
ผู้เขียน
625050057-3 นาย สุทธิกร กรมทอง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล ็HONORABLE PAPER AWARD 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 14 พฤษภาคม 2564 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum