2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของวัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 พฤษภาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการบริหารการศึกษาและอุดมศึกษาระดับชาติและนานาชาติประจำปี 2564 "การบริหารจัดการศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาอนาคต" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรต 
     สถานที่จัดประชุม online zoom 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 14 พฤษภาคม 2564 
     ถึง 14 พฤษภาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 637-648 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของวัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 2) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลตัวบ่งชี้ของวัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 จำนวน 315 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.951 วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและองค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อทดสอบความสอดคล้องโมเดลตัวบ่งชี้กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) วัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) วิสัยทัศน์เชิงดิจิทัล มี 3 ตัวบ่งชี้ (2) บรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงาน มี 4 ตัวบ่งชี้ (3) ค่านิยมการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยี มี 3 ตัวบ่งชี้ (4) วิถีปฏิบัตินวัตกรรม มี 3 ตัวบ่งชี้ และ (5) เครือข่ายดิจิทัล มี 3 ตัวบ่งชี้ 2) โมเดลตัวบ่งชี้วัฒนธรรมดิจิทัลของโรงเรียนประถมศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า χ^2= 81.543 , Df = 64, ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-Value) = 0.0687 , RMSEA = 0.028, SRMR = 0.021, CFI = 0.997, TLI = 0.995 
ผู้เขียน
625050051-5 นาย วัชรินทร์ ลาดล่าย [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0