2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานภาคีเครือข่ายการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 พฤษภาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษาระดับชาติและระดับนานาชาติ ประจำปี 2564 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(รูปแบบออนไลน์) 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 14 พฤษภาคม 2564 
     ถึง 14 พฤษภาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 866-8ึ79 
     Editors/edition/publisher ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การดำเนินงานภาคีเครือข่ายการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานภาคีเครือข่ายการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา 3) ความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานภาคีเครือข่ายการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 11 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 5 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ปีการศึกษา 2563 (ข้อมูล ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2563) ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 15 คน ครูและบุคลากรจำนวน 541 คน รวมทั้งหมด จำนวน 556 คน โดยมีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยตารางของ Krejcie and Morgan และสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random Sampling) ซึ่งได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การการพัฒนาภาคีเครือข่ายการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดสมาชิกเครือข่าย มี 3 ตัวบ่งชี้ 2) การกำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน มี 3 ตัวบ่งชี้ 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มี 3 ตัวบ่งชี้ 4) การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ของบุคลากร มี 3 ตัวบ่งชี้ และ 5) การประเมินผลและการปรับปรุงงาน มี 3 ตัวบ่งชี้ รวมทั้งสิ้น 5 องค์ประกอบ 15 ตัวบ่งชี้ 2) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานภาคีเครือข่ายการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา พบว่า สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานภาคีเครือข่ายการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การกำหนดจุดมุ่งหมายร่วมกันกับภาคีเครือข่ายในการคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษา ส่วนสภาพพึงประสงค์ของการดำเนินงานภาคีเครือข่ายการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ของบุคลากรในการจัดทำแผนให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว และแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล และการประเมินผลและการปรับปรุงงานในการจัดทำแผนให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว และแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล และ 3) ความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานภาคีเครือข่ายการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา ลำดับที่ 1 คือ การประเมินผลและการปรับปรุงในการจัดทำแผนให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว และแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (PNI = 0.490) ลำดับที่ 2 การกำหนดสมาชิกเครือข่ายในการคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษา (PNI = 0.390) ลำดับที่ 3 การกำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกันในการให้บริการด้วยกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กพิการ(PNI = 0.268) ลำดับที่ 4 การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ของบุคลากรในการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและการส่งต่อ (PNI = 0.246) และลำดับที่ 5 การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในการจัดทำแผนให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว และแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (PNI = 0.226) คำสำคัญ: การพัฒนาภาคีเครือข่ายการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ  
ผู้เขียน
625050053-1 ว่าที่ ร.ต. ศักดิ์ชัย บุราณรมย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล บทความดีเด่น 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 14 พฤษภาคม 2564 
แนบไฟล์
Citation 0