2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ “ไฮโดรเจลนาไฟฟ้าอัจฉริยะจากคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์/กลีเซอรอล เชื่อมโยงขวางโดยกรดบอริก (Smart Conductive Hydrogel Based on Carboxymethyl Cellulose/Polyvinyl Alcohol/Glycerol Crosslinked by Borax Acid)” 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 6 มกราคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     ISBN/ISSN E-ISSN 2672-9636 
     ปีที่ 22 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ไฮโดรเจลมีข้อดีในงานด้านวิศวกรรมเป็นอย่างมากเนื่องจากความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพรวมไปถึงคุณสมบัติทางเคมีและทางกล คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) เป็นอนุพันธ์เซลลูโลสที่ละลายน้ำและสามารถย่อยสลายได้ และโพลีไวนิลแอลกอฮอล์ (PVA) ซึ่งเป็นโพลีเมอร์กึ่งผลึก มีคุณสมบัติช่วยในการดูดซับและคุณสมบัติเชิงกล เหมาะสมกับการเตรียมขึ้นเป็นเจลจากการเชื่อมโยงข้ามซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนาวัสดุใช้งานได้พร้อมคุณสมบัติทางเชิงกลและไฟฟ้าที่ดีขึ้น โดยใช้วิธีการอบสุญญากาศ งานวิจัยนี้ยังศึกษาการเชื่อมโยงข้ามระหว่างกลีเซอรอลและบอแรกซ์ที่สำคัญเนื่องจากกลีเซอรอลมีคุณสมบัติในการละลายน้ำ,การต้านทานการแช่แข็งและการต้านทานการแห้งที่ดี รวมไปถึงใช้คุณสมบัติความสามารถในการรักษาตัวเองของบอแรกซ์ในช่วงร้อยละ 15-25 และมีค่าความต้านทานสัมพันธ์สูงสุดร้อยละ 20 นอกจากนี้ผลการทดลองยังแสดงให้เห็นว่าไฮโดรเจลมีคุณสมบัติในการต้านทานการเยือกแข็ง-การแห้งและความไวต่อความเครียด ไฮโดรเจลนั้นมีศักยภาพที่จะนำมาใช้เพื่อสร้างผิวหนังอิเล็คทรอนิกส์ที่ยืดหยุ่นได้ดีสวมใส่ได้,งานพิมพ์ 3 มิติและเซ็นเซอร์ที่ไวต่อความเครียด 
     คำสำคัญ Hydrogel, Anti-freezing, Anti-drying, Self-healing 
ผู้เขียน
625040088-8 นาย อิทธิพล แต้สุวรรณ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0