2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร: การประยุกต์ใช้โมเดล DINA สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 22 มิถุนายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร และ 3) วิเคราะห์แบบแผนของพฤติกรรมการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนแผนการเรียนรู้ภาษาจีน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จาก 12 โรงเรียน จำนวน 220 คน ได้มาโดยสุ่มแบบชั้น (Stratified Random Sampling) วิเคราะห์ผลการวินิจฉัยด้วยโมเดล DINA โดยสร้างแบบทดสอบด้วยการกำหนดโมเดลพุทธิปัญญาและตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสม ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. ผลการพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการใช้ภาษาจีน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 2. ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบ จากการวิเคราะห์ CTT พบว่า ค่าความเที่ยง (KR-20) เท่ากับ 0.68 ค่าความยาก (p) ต่ำสุดเท่ากับ 0.48 สูงสุดเท่ากับ 0.72 และค่าอำนาจจำแนก (r) ต่ำสุดเท่ากับ 0.17 สูงสุดเท่ากับ 0.67 การวิเคราะห์ด้วย IRT ด้วยโมเดล 2 พารามิเตอร์ พบว่ามีค่าความยาก (b) ต่ำสุดเท่ากับ -8.61 สูงสุดเท่ากับ 118.49 และค่าอำนาจจำแนก (a) ต่ำสุดเท่ากับ -16.42 สูงสุดเท่ากับ 9.44 จากการวิเคราะห์ด้วยโมเดล DINA พบว่า ค่าการเดา (g) มีค่าสูงสุดเท่ากับ 0.16 ต่ำสุดเท่ากับ 0.00 ค่าเฉลี่ยการเดาเท่ากับ 0.09 ค่าความสะเพร่า (s) มีค่าสูงสุดเท่ากับ 1.00 ต่ำสุดเท่ากับ 0.00 ค่าเฉลี่ยความสะเพร่า 0.48 ค่าRMSEA มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 0.08 ต่ำสุดเท่ากับ 0.00 ค่าเฉลี่ยของค่าRMSEA เท่ากับ 0.01 ส่วนดัชนีค่าอำนาจจำแนก (IDI) มีค่าสูงสุดเท่ากับ 0.97 ต่ำสุดเท่ากับ 0.04 3. ผลการวิเคราะห์แบบแผนของพฤติกรรมการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารที่มีความบกพร่องมากที่สุด คือ การใช้คำช่วย เนื่องจากมีความน่าจะเป็นในการผ่านคุณลักษณะนี้ ร้อยละ 4 รองลงมา คือ การใช้โครงสร้างที่ถูกต้อง ร้อยละ 6 การใช้คำศัพท์ ร้อยละ 8 และมีความน่าจะเป็นในการผ่านคุณลักษณะการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับบริบทของสังคม ร้อยละ 11 
     คำสำคัญ แบบทดสอบวินิจฉัยทักษะ, ทักษะการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร, การพัฒนาแบบทดสอบ, โมเดลวินิจฉัยดีไอเอ็นเอ 
ผู้เขียน
625050099-7 น.ส. ภัคกุล บุตรเคน [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0