2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลการตอบตามความปรารถนาของสังคมต่อคุณภาพของแบบวัดจริยธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 22 มิถุนายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 28 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มิถุนายน 2565
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดจริยธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2) ศึกษาผลการตอบแบบวัดจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ซึ่งจำแนกตามผลการจัดกลุ่มการตอบตามความปรารถนาของสังคม 3) เปรียบเทียบคุณภาพของแบบวัดจริยธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ก่อนและหลังการตัดกลุ่มผู้สอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคม กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 848 คน ได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบวัดจริยธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ ตัวเลือก 3 ระดับ จำนวน 32 ข้อ และแบบวัดคุณลักษณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษา: การตอบตามความปรารถนาของสังคม ที่พัฒนาโดยกลุ่มวิจัย AREA SIG คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีลักษณะเป็นแบบวัดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) แบบวัดจริยธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 พบว่า มีข้อคำถามจำนวน 32 ข้อ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความอดทน ความมีวินัย และความกตัญญูกตเวที และโมเดลแบบวัดจริยธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า Chi-Square = 46.435, df = 44, P-value 0.3723 RMSEA = 0.014, 0.030, CFI = 0.997, TLI = 0.995 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม (Item-total Correlation) อยู่ระหว่าง 0.183 ถึง 0.423 ค่าความเที่ยงโดยวิธีตรวจสอบความสอดคล้องภายใน โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's Alpha Method) = 0.795 2) ผลการตอบแบบวัดจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ซึ่งจำแนกตามผลการจัดกลุ่มการตอบตามความปรารถนาของสังคมออกเป็น 5 กลุ่ม หมายถึงกลุ่มผู้ตอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคมต่ำมาก - สูงมาก (SDR1 - SDR5) พบว่า ที่กลุ่มมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ กลุ่มผู้สอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคมในระดับสูงมาก (SDR5) ค่าเฉลี่ย = 84.22 มีผลการตอบแตกต่างกับกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือกลุ่มผู้สอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคมในระดับต่ำมาก (SDR1) ค่าเฉลี่ย = 75.36 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) เปรียบเทียบคุณภาพของแบบวัดจริยธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นก่อนและหลังการตัดกลุ่มผู้สอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคม เมื่อพิจารณาค่าพารามิเตอร์ความชันร่วมของข้อคำถาม (α_i ) พบว่า ก่อนตัด มีค่าอยู่ระหว่าง -0.65 ถึง 1.39 หลังตัด มีค่าอยู่ระหว่าง 0.18 ถึง 1.28 เมื่อพิจารณาค่าพารามิเตอร์ Threshold (β_ij) ของแต่ละรายการคำตอบของกลุ่ม พบว่าก่อนตัด ค่า β1 มีค่าระหว่าง -15.62 ถึง 0.04 ค่า β2 มีค่าระหว่าง -3.91 ถึง 13.52 หลังตัด ค่า β1 มีค่าระหว่าง -5.27 ถึง -0.95 ค่า β2 มีค่าระหว่าง -2.16 ถึง 4.02 และเป็นค่าเรียงลำดับ ผลการวิเคราะห์ค่าฟังก์ชันสารสนเทศของแบบวัดจริยธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 พบว่า ก่อนตัดมีค่าฟังก์ชันสารสนเทศสูงกว่าหลังตัด ในระดับการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบระดับเดียวกัน  
     คำสำคัญ แบบวัดจริยธรรม , การตอบตามความปรารถนาของสังคม 
ผู้เขียน
625050150-3 น.ส. แก้วอรุณ เหล่าศรีคู [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0