2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ แนวทางการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดวิถีใหม่ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 2 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 29 มิถุนายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร ปัญญาปณิธาน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฏาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ นัตพงษ์ ช่ออังชัน. 2564. แนวทางการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดวิถีใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวชิาการบริหารและพัฒนา คุณภาพ การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์: รองศาสตราจารย์ ดร. วัลลภา อารีรัตน์ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวตัถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์และเพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดวิถีใหม่ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ประชากรคือโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 จำนวน 105 โรง ผู้ตอบแบบสอบถามคือผู้บริหารและครู จำนวน 272 คน มี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ทางการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดวิถีใหม่ในสถานศึกษา เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามมาตราประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของแบบสอบถาม α = 0. 96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้อการจำเป็นจากสูตร Modified Priority Needs Index (PNIModified) ระยะที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ(Interview) 7 ท่าน เพื่อหาแนวการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดวิถีใหม่โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย โดยการตีความให้เหตุผลสร้างข้อสรุปและนำ เสนอโดยการบรรยายแบบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการตามแนวคิดวิถีใหม่ในสถานศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( x ̅ = 4.34) และมากที่สุด ( x ̅ = 4.87) ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นสามารถเรียงลำดับจากความต้องการในการพัฒนามากที่สุด คือ ด้านการสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดวิถีใหม่ ผลการศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดวิถีใหม่พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาควรดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้ 1) ควรสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน ผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และส่งเสริมด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 2) การประเมินผลการเรียนรู้ เน้นการประเมินตามสภาพจริงและกำกับติดตาม 3) การนิเทศแบบกัลยาณมิตรและสร้างแรงจูงใจ เพื่อพัฒนาครู และให้ความช่วยเหลือครูและนักเรียนที่ได้รับจากผลกระทบภาวะวิกฤติ COVID 19 4) การพัฒนาหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วม และทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบดิจิทัลมาใช้และบูรณาการแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5) ควรสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ และการกำกับติดตาม และ 6) ควรพัฒนาครูให้มีทักษะและเทคนิคการสอนแบบActive Learning การใช้เทคโนโลยีในชั้นเรียน และการสร้างเครือข่ายร่วมกับผู้ปกครอง เพื่อกำกับติดตามผลการเรียนรู้ และสุขภาพของผู้เรียน Nattapong Chooangchan. 2021. Guidelines for Academic Administration According to New Normal of School under NongKhai Primary Education Service Area Office 2. Master of Educational Thesis in Administration and Quality development, Graduate School, Khon Kaen University. Thesis Advisor: Assoc. Prof. Dr. Wallapha Ariratana ABSTRACT This research aims to study the actual and desirable conditions and to study the guidelines of academic management according to the new normal education in Nong Khai Primary Educational Service Area Office 2. The target populations are 105 schools in Nong Khai Primary Educational Service Area Office 2. Respondents were randomly from 272 administrators and teachers in those areas. The data were collected via two phases. Phase I is the questionnaire to study the actual and desirable conditions of the academic management. The quantitative data were collected via these questionnaires with 5-scale setting. The questionnaire's coefficient of validity α = 0.96. Data were analyzed by software computer with many types of statistic such as frequency distribution, percentage, mean and standard deviation to get the Priority Needs Index based on the Modified Priority Needs Index (PNIModified). Phase II is an interviewing 7 educational qualified persons to find out the academic management guidelines according to the new normal education. The Semi-Structured Interview was used in this research. The data were identified as analyze Induction by interpreting, reasoning, summarizing and presented as the lectures. The result showed that the actual and desirable condition of academic management according to the new normal education, the whole frame is on the high level (x ̅ = 4.34) with the maximum level (x ̅ = 4.87). Data showed the highest essential need value is making cooperation to student’s parents and communities (PNI Modified = 0.118), and the lowest essential need value is setting the learning method (PNI Modified = 0.098) In the other hand, the result for the academic management guidelines revealed that the school administrators should take the actions which are 1) Making cooperation and good communication to student’s parents and communities by improving the student care system and encouraging the desirable attribute to the learners. 2) For learning evaluation, the school administrators should state the evaluation policy and emphasize on the actual environment and close up monitoring. 3) For educational supervision and teacher’s skill development, school administrators should arrange the agreement with the teacher (MOU) in operating, improving and upgrading the learning method according to the new normal education  
     คำสำคัญ ความปกติใหม่,การบริหารงานวิชาการตามแนวคิดวิถีใหม่.การจัดการศึกษาตามแนวคิดวิถีใหม่ 
ผู้เขียน
625440004-2 นาย นัตพงษ์ ช่ออังชัน [ผู้เขียนหลัก]
คณะสหวิทยาการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0