2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยอุปกรณ์ สื่อสารเคลื่อนที่แบบพกพาบนกูเกิลแอพพลิเคชั่น เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 30 มิถุนายน 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ “การศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ครั้งที่ 5” ประจำปี 2564 (ผ่านระบบออนไลน์) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
     สถานที่จัดประชุม ZOOM (ผ่านระบบออนไลน์) 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 พฤษภาคม 2564 
     ถึง 28 พฤษภาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2564 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 378 - 387 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่แบบพกพาบนกูเกิลแอพพลิเคชั่น เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านโสกหาดสวรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) การเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 3) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่แบบพกพาบนกูเกิลแอพพลิเคชั่น เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งการทดลอง ที่มีการทดสอบก่อนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) การเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่แบบพกพาบนกูเกิลแอพพลิเคชั่น เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 91.86/93.20 2) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่แบบพกพาบนกูเกิลแอพพลิเคชั่น เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมากที่สุด  
ผู้เขียน
615050023-9 น.ส. ศุภรัตน์ การอรุณ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum